วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
พ.ศ. 2553 - 2555

โดยประภาพันธุ์ แก้วโชติ

ตอนที่ 1 ภาพรวมของโรงเรียน
1.1 ข้อมูลโดยสรุปของโรงเรียน
โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 71 ถนน ห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 ก่อตั้งเมื่อ ปีการศึกษา 2521 โดยมี นายประเสริฐ ธนาฤทธิ์ เป็นผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการ และมีนายณรงค์ จันทรานนท์ เป็นครูใหญ่ โดยเปิดสอนในระดับอาชีวศึกษา ด้านบริหารธุรกิจ ใน 3 ระดับการศึกษาคือ 1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)รับผู้จบ ม.3 หรือเทียบเท่า 2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)รับผู้จบ ปวช. 3. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.ม. ปลาย) สำหรับผู้จบ ม.6 หรือเทียบเท่า ปัจจุบันบริหารงานในรูปของบริษัท ชื่อว่า บริษัทนครพิงค์พัฒนาจำกัด และเปิดสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้ การบัญชี การขาย การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การจัดการทั่วไป การท่องเที่ยว ธุรกิจค้าปลีก (ทวิภาคี) โดยมีนายจุมพล ชุติมา เป็นผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการ มีนางประภาพันธุ์ แก้วโชติ เป็นผู้อำนวยการ
จำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2552 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,130 คน แบ่งเป็นระดับปวช. จำนวน 632 คน เป็นชาย 298 คน เป็นหญิง 334 คน ระดับปวส. จำนวน 498 คน เป็นชาย 169 คน เป็นหญิง 329 คน มีครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 96 คน โดยแบ่งเป็น ผู้บริหาร 5 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 3 คน ครูผู้สอน 67 คน เป็นชาย 18 คน หญิง 49 คน บุคลากรทางการศึกษา 24 คน เป็นชาย 12 คน หญิง 12 คน
โรงเรียนได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการบริหารจัดการโดยเฉพาะในงานวิชาการ สนับสนุนให้ครูสร้างสื่ออิเลคทรอนิกส์และจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ระบบ E - Officeนอกจากนี้โรงเรียนยังมีการบริหารจัดการภายในโดยการนำโปรแกรม CMS. Intranet มาใช้ในการบริหารงาน เป็นต้น

1.2 วิสัยทัศน์ของโรงเรียนปีการศึกษา 2552 – 2555 (Vison)
มุ่งพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาชีพโดยส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องรวมทั้งระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และมุ่งเน้นให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การบริหารโรงเรียน การบริการชุมชน สามารถสื่อสารด้วยภาษาสากล และผลิตผู้เรียนที่มีคุณธรรม จริยธรรม บนพื้นฐานความมีวินัยและรับผิดชอบ ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามและวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข




1.3 พันธกิจ ปรัชญา เป้าประสงค์ และกลยุทธ์หลักปีการศึกษา 2552 - 2555
- พันธกิจหลักรองรับเพื่อนำบรรลุผลตามวิสัยทัศน์ (Mission)
1. พัฒนาผู้บริหารและครูให้เป็นบุคลากรมืออาชีพ
2. พัฒนาหลักสูตร สื่อ อุปกรณ์ ให้มีความเป็นเลิศผู้เรียนสามารถแสวงหาองค์ความรู้ด้วยตนเอง
3. ส่งเสริมความร่วมมือกับสถานประกอบการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมจัดการเรียนรู้และพัฒนาหลักสูตร
4. พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
5. พัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่น ๆ โดยมุ่งเน้นการสืบค้น สร้างองค์ความรู้ และการสื่อสารเพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
6. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ระดับสากล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการบริหารจัดการ
7. เพิ่มศักยภาพของบุคลากรทุกฝ่าย ทุกระดับ สู่มาตรฐานวิชาชีพ มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ
8. จัดสภาพแวดล้อมเป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีบรรยากาศร่มรื่นสวยงาม ปลอดภัย สะอาดและเป็นระเบียบ
9. สร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่ายภายใน
10. ใช้ระบบการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานภายในโรงเรียนให้เกิดความต่อเนื่อง


- ปรัชญาการศึกษาของ โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่

“ วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม นำความเป็นเลิศ”


- เป้าประสงค์ (Goals) ของโรงเรียน
1.ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทุกด้านเต็มตามศักยภาพของตนทั้งทางด้านภาษาต่างประเทศ การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้จาก Internet
2. ผู้เรียนทุกคนได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
3. ผู้เรียนทุกคนมีความรู้และทักษะตามหลักสูตรมาตรฐานการศึกษาของชาติและมาตรฐานสากล
4. ผู้เรียนมีความภูมิใจในความเป็นไทย มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ครูและบุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานภายใน โดยใช้ระบบ E – Office อย่างเต็มความสามารถและต่อเนื่อง
6. ครูทุกคนมีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มีความรอบรู้ ปฏิบัติงานได้จริง
7. ส่งเสริมความเข้มแข็งทางด้านวิชาการโดยให้ผู้สอนและผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
8. พัฒนาระบบสารสนเทศ นวัตกรรม สื่อเทคโนโลยีให้มีคุณภาพมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้พัฒนาการเรียนรู้และการจัดการให้มีประสิทธิภาพ
9. ผู้เรียนมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม อนุรักษ์พลังงาน เข้าใจและรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
10. ครู บุคลากร และผู้เรียนมีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน

- กลยุทธ์หลัก และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ปีการศึกษา 2552 – 2555 (Strategy)
กลยุทธ์หลัก
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1.ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทุกด้านเต็มตามศักยภาพของตนทั้งทางด้านภาษาต่างประเทศการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้จาก Internet
2.พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
1.1 ความซื่อสัตย์สุจริต
1.2 ความประหยัด
1.3 การปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
1. ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ เต็มตามศักยภาพโดยสามารถสืบค้นและเรียนรู้จากแหล่งความรู้ บน Intermet
2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียนSCC.

3. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะสู่มาตรฐานสากลในเรื่อง
3.1 การมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
3.2 มีทักษะความสามารถในการค้นคว้า แสวงหาความรู้
3.3 มีทักษะกระบวนการคิดระดับสูง
3.4 มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ
3.ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
4.ผู้เรียนมีทักษะความสามารถในการค้นคว้า
แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ และสื่อ
เทคโนโลยี
5. ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิดระดับสูง
6 ผู้เรียนมีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ
4. พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ เพื่อยกระดับ ความสามารถของผู้เรียนเต็มตามศักยภาพและ
มุ่งสู่มาตรฐานสากล
7. มีหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่มาตรฐาน
สากล
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
8 มีระบบการประกันคุณภาพของทุกงาน ทุกฝ่าย
ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
6. จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด
ร่มรื่น สวยงาม และปลอดภัย
9 มีบรรยากาศ สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้
สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย และเป็นแหล่งเรียนรู้
1. 7. สร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง
ชุมชน เครือข่ายภายใน และต่างประเทศ ให้เป็น
สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
10 ชุมชน ผู้ปกครอง เครือข่ายภายนอกร่วมกัน
พัฒนาการศึกษา

8. ส่งเสริมความเข้มแข็งทางด้านวิชาการโดยให้ผู้สอนและผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

11 โรงเรียนมีกระบวนการวิจัยเป็นสังคมแห่งการ
เรียนรู้
9. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ระดับสากล เพื่อ
เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ และ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แก่นักเรียน
11 สื่อเทคโนโลยีมีคุณภาพและทันต่อการใช้งานมุ่งเน้นการจักการภายในระบบ E - Office
10. เพิ่มศักยภาพของครูและบุคลากรทุกระดับสู่มาตรฐานวิชาชีพ
12 ผู้บริหาร ครู บุคลากร มีมาตรฐานวิชาชีพ
11. ระดมทรัพยากรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหาร
จัดการ
13 มีทรัพยากรเหมาะสมและบริหารจัดการอย่าง
มีประสิทธิภาพ

ตอนที่ 2 สถานภาพและสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงเรียน
2.1 สถานภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.1.1 ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network)
โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ ปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ จำนวน 550 เครื่อง โดยแต่ละเครื่องเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่าย และสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง โดยปกติการเชื่อมต่อระหว่างอาคารจะใช้สายเคเบิลใยแก้ว (Fiber Optic) ในการเชื่อมต่อภายในอาคารจะใช้สาย UTP เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัทเชียงใหม่อินเตอร์เน็ต โดยใช้ Leased Line ความเร็ว 8 Mbps มีเครื่องให้บริการ (Server) 10 เครื่อง ทำหน้าที่เป็น Domain Name Server (DNS), DHCP Server, E-mail, Web Server, Database Server, Print Server, e-Learning Server และ Server ในห้องเรียน
2.1.2 ด้านอาคารสถานที่ติดตั้งและเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware)
- คอมพิวเตอร์ในห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์
ห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์จำนวน 10 ห้องเรียน ทุกห้องเรียนมีระบบเครือข่าย (LAN) ภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่ออินเตอร์เน็ตได้ มีการเชื่อมต่อจากห้องเรียนมายังศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศของโรงเรียน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนอยู่ภายในอาคารมณีนพรัตน์ในชั้นที่ 2 – 4 โดยแต่ละห้องปฏิบัติการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ห้องละ 48 เครื่อง
- คอมพิวเตอร์ในห้อง บริการ Internet และห้องสมุด
โรงเรียนมีห้อง บริการ Internet เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นหาข้อมูล ความรู้ และข่าวสาร จำนวน 1 ห้อง มีเครื่องคอมพิวเตอร์บริการจำนวน 5 เครื่อง ห้องสมุดในโรงเรียนมี 1 ห้อง มีคอมพิวเตอร์บริการจำนวน 6 เครื่อง รวมมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการนักเรียนจำนวน 11 เครื่อง
- คอมพิวเตอร์สำหรับครูและบุคลากรในการปฏิบัติงาน
อาคารมณีนพรัตน์ชั้น 1 ซึ่งเป็นห้องสำนักงานและห้องฝ่ายงานต่าง ๆ มีคอมพิวเตอร์สำหรับบริหารงานด้านการเงิน - บัญชี 4 เครื่อง งานทะเบียนนักเรียน 6 เครื่อง งานกิจการนักเรียน นักศึกษา 4 เครื่อง งานกองทุนเงินให้กู้ยืม 4 เครื่อง งานประชาสัมพันธ์ 1 เครื่อง งานสารบรรณ 1 เครื่อง งานวิชาการ 4 เครื่อง งานศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง Sever 9 เครื่อง งานฝ่ายพัฒนาบุคลิกภาพ 4 เครื่อง งานฝ่ายส่งเสริมการตลาด 3 เครื่อง ผู้บริหาร 5 เครื่อง รวมจำนวน 43 เครื่อง อาคารนครพิงค์ 2 ชั้น 2 ซึ่งเป็นห้องพักครู และงานบุคลากร ห้องบุคลากร 3 เครื่อง Sever 1 เครื่อง ห้องสาขาคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง ห้องสาขาบัญชี การตลาด /การจัดการทั่วไป / การท่องเที่ยว 3 เครื่อง ห้องหมวดสามัญ 1 , 2 จำนวน 4 เครื่อง รวมจำนวน 12 เครื่อง อาคารนครพิงค์ 1 ชั้น 1 ห้องพัสดุครุภัณฑ์ มีจำนวน 1 เครื่อง ห้องฝ่ายอาคารสถานที่ จำนวน 1 เครื่อง ห้องรักษาดินแดนจำนวน 1 เครื่อง ห้องพยาบาล จำนวน 1 เครื่อง รวมอาคารนี้มีจำนวน 4 เครื่อง
2.1.3 ด้านบุคลากร (Peopleware)
โรงเรียนมีหน่วยงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ รับผิดชอบงานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงเรียน มีบุคลากรประกอบด้วย หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ ช่างเทคนิค เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่สารสนเทศ ทำหน้าที่ดังนี้
1. วางระบบเครือข่าย ติดตั้งเครื่อง และโปรแกรมคอมพิวเตอร์
1.1 วางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Networking) และอินเตอร์เน็ต (Internet) ในโรงเรียน
1.2 ติดตั้งโปรแกรมให้เครื่องให้บริการ และเครื่องใช้งาน
1.3 จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ต่อพ่วงในโรงเรียน และ เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่าย เข้ามาที่ศูนย์คอมพิวเตอร์
1.4 ประกอบเครื่อง ตรวจสอบ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาเครื่องและอุปกรณ์
2. ดำเนินการ หรือปรับปรุง หรือพัฒนาหรือแก้ไข เกี่ยวกับ ICT โฮมเพจ(Home Page) E-Mail ของโรงเรียน
3. พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ CMS เพื่อใช้งานต่าง ๆ ในโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ออกแบบและจัดทำฐานข้อมูลและสารสนเทศของโรงเรียน
5. จัดทำสื่อนำเสนอข้อมูล สารสนเทศ และผลงานของโรงเรียน
6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็คทรอนิคส์ (e-Learnning)
7. ประสานการทำงานระหว่างงานประชาสัมพันธ์ เพื่อเผลแพร่ข่าวสารของโรงเรียน และหน่วยงานอื่นที่ใช้คอมพิวเตอร์
8. จัดทำข้อมูลสถิติของโรงเรียนให้เป็นปัจจุบันเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษา
นอกจากนี้โรงเรียนยังมีศูนย์วิทยบริการที่ให้บริการงานด้านโสตทัศนูปกรณ์ การจัดทำสื่ออิเล็คทรอนิกส์ สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ มีการฝึกอบรมปฏิบัติการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้แก่ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีการศึกษา สนับสนุนให้ครูสร้างสื่อนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ชิ้นงาน
2.1.4 การพัฒนาโปรแกรมและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (Software)
โรงเรียนได้พัฒนาโปรแกรมระบบบริหารงานโรงเรียน โดยใช้โปรแกรมเมอร์ของโรงเรียน ปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับใช้งานมากมาย เช่น โปรแกรมงานทะเบียน – วัดผล โปรแกรมงานวิชาการ โปรแกรมพัสดุ-ครุภัณฑ์ โปรแกรมระบบงานบัญชี โปรแกรมงานบุคลากร โปรแกรมงานกิจการนักเรียน และระบบ Intranet เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลภายในของโรงเรียน ฯ ล ฯ นอกจากนี้ทางโรงเรียนได้พัฒนาโปรแกรม ทำให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต นักเรียนสามารถเรียนรู้และติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอนผ่านระบบนี้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่ให้บริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เช่น การสืบค้นหาหนังสือในห้องสมุดโรงเรียน การตรวจสอบผลการเรียน และการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

2.2 สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (SWOT Analysis)
2.2.1 โอกาส (Opportunities)
- ผู้เรียนมีความสนใจและเข้าในในระบบการสื่อสารผ่านเครือข่าย และผู้เรียนส่วนใหญ่มีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
- กระแสของสังคมมีการตื่นตัวในการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตมากขึ้น
- หน่วยงานต้นสังกัดพยายามผลักดันให้โรงเรียนบริหารจัดการโดยใช้สารสนเทศ
- บริษัทที่รับเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีจำนวนมากและมีราคาถูกลง ในขณะที่ความเร็วสูงขึ้น
2.2.2 อุปสรรค (Threats)
- งบประมาณมีไม่เพียงพอในการที่จะจัดซื้อจัดหาคอมพิวเตอร์ที่เป็นรุ่นใหม่ ๆ เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
- อุปกรณ์ หรือ โปรแกรมบางชนิดมีราคาค่อนข้างสูง
2.2.3 จุดแข็ง (Strengths)
- โรงเรียนมีนโยบายที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
- โรงเรียนมีระบบเครือข่าย Internet ความเร็วสูงไว้ให้บริการแก่ผู้เรียน
- โรงเรียนมีเจ้าหน้าฝ่ายซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา การซ่อมบำรุงสะดวก รวดเร็ว และประหยัด
- โรงเรียนมีโปรแกรมระบบบริหารงานโรงเรียน CMS ช่วยให้การปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสะดวกและรวดเร็ว
- โปรแกรมระบบจัดการเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต ช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกหนทุกแห่ง โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
- ทุกจุดในโรงเรียนสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายภายใน(Lan)และใช้งานอินเตอร์เน็ตได้
- นักเรียนมีทักษะพื้นฐานด้าน การใช้คอมพิวเตอร์

2.2.4 จุดอ่อน (Weaknesses)
- การใช้คอมพิวตอร์ของผู้เรียนบางครั้งยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่ควรมักใช้ในการ เล่นเกมส์ แชต หรือเข้าเว็บที่ไม่เหมาะสม มากกว่าการเข้าไปศึกษา ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
- ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา บางคนยังขาดความสนใจและพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุค่อนข้างสูง
- เจ้าหน้าที่ด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบสารสนเทศซึ่งก้าวไปอย่างรวดเร็ว
- การจัดทำฐานข้อมูลของโรงเรียนยังขาดการประสานร่วมกันของฝ่ายงานต่าง ๆ ทำให้การรับข้อมูลเกิดความล่าช้า หรือซ้ำซ้อน
ตอนที่ 3 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2553 – 2555
วิสัยทัศน์
ในปีการศึกษา 2555 โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ เป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การบริหารโรงเรียน การบริการชุมชนอย่างต่อเนื่องและพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นสากล

พันธกิจ
1. พัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการเรียนรู้ และการบริหารจัดการ
2. เพิ่มศักยภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ทักษะและให้การฝึกอบรมในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระดับที่สูงขึ้น
3. พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จัดหาสื่อและอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอ
4. สร้างเครือข่ายและจัดบริการงานคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน การบริการวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษา ชุมชน โดยใช้ศักยภาพทุกด้านของโรงเรียนเป็นฐาน

วัตถุประสงค์
1. นักเรียน นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ได้ดีขึ้น และมีประสบการณ์ที่ดีจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสะดวกในการติดต่อประสานงาน และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ
4. เพื่อพัฒนาครูผู้สอนวิชาต่างๆให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสื่อกลางในการสืบค้นหาความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกับชุมชน และบุคคลภายนอก
เป้าหมาย
1. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการไม่ว่าจะเป็นครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษามากกว่า 80 %
2. มีการติดต่อประสานงานกันภายในโรงเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30%
3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนสามารถใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสร้างสื่อนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้หรือเพื่อพัฒนางานที่รับผิดชอบ
4. การจัดการเรียนการสอนของทุกสาขาวิชา มีการบูรณาการภูมิปัญญาและค่านิยมที่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ ในสาระและกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างชัดเจน
5. มีการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่พัฒนาขึ้นใช้ในงานวิชาการและการบริหารจัดการต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง
6. มีห้อง e – classroom สำหรับนักเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสร้างเครือข่ายสู่ความเป็นสากล อย่างน้อยระดับชั้นละ 1 ห้อง
7. มีศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับให้บริการด้านสื่ออีเลกทรอนิกส์ ทั้ง Hardware และ Software แก่ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
8. มีห้องปฏิบัติการสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจ (War room) ครอบคลุมงานด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน เพื่อช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจโดยอาศัยฐานข้อมูลโรงเรียนเป็นหลัก
9. มีระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless) ครอบคลุมทุกบริเวณในโรงเรียน

ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจัดการเรียนรู้และการบริหารงาน
1. ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาครูให้มีเทคนิค วิธีการในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างหลากหลาย โดยใช้การเรียนการสอนออนไลน์ เผยแพร่ผลงานและพัฒนาผลงานสู่ชุมชน สังคมที่กว้างออกไป
2. ส่งเสริมให้ครูผลิตสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการจัดการเรียนการสอน
3. พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและผู้รับผิดชอบด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความสามารถในการทำวิจัยเพื่อพัฒนางาน และนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงพัฒนางานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา
เพิ่มช่องทางการเรียนรู้เพื่อผลิตและพัฒนาคุณภาพนักเรียน นักศึกษาทุกระดับชั้นให้เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัย และนวัตกรรมของครู
ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือด้านการเรียนการสอนการทำวิจัยของโรงเรียนทั้งหน่วยงานภายในภายนอกเพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 จัดหาสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพเพียงพอ เหมาะสมกับความต้องการ
1. จัดหาเครื่องและอุปกรณ์พ่วงต่อคอมพิวเตอร์ ที่ทันสมัยให้เพียงพอเหมาะสมต่อความต้องการของนักเรียน นักศึกษา
2. พัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในงานการเรียนการสอน หรือการบริหารจัดการภายในโรงเรียนเพิ่มเติมจากที่มีอยู่
3. จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นศูนย์รวมสื่อ Software และ Hardware ให้บริการแก่ครู นักเรียน ผู้ปกครองและผู้สนใจในชุมชน
4. จัดทำห้องเรียน e - classroom ให้แก่นักเรียน
5. จัดหาอุปกรณ์จ่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless)

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการสื่อสารถึงเครือข่าย ชุมชนบุคคลภายนอก 1. ปรับปรุงช่องทางการประชาสัมพันธ์แก่ บุคลภายนอก
2. เพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับศิษย์เก่าผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศกับชุมชนโดยรอบโรงเรียน

ตอนที่ 5 การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล
5.1 การบริหารจัดการ
เพื่อให้แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ประสบผลสำเร็จดังเป้าหมายที่วางไว้จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการบริหารแผนการดำเนินงาน และการประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพดังนี้
5.1.1 สร้างความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับให้มีความรู้ความเข้าใจยอมรับและนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
5.1.2 สาขาวิชา และหมวดวิชาทุกระดับชั้น จัดการบูรณาการ ลงในแผนของสาขา/หมวดวิชา ให้สอดรับกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงเรียน
5.1.3 กำหนดให้แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
5.1.4 กำหนดให้มีคณะกรรมการรับผิดชอบการบริหารงาน เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
5.1.4.1 คณะกรรมการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1.4.2 คณะกรรมการพัฒนาสื่อและซอฟต์แวร์
5.1.4.3 คณะกรรมการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย
5.1.4.4 คณะกรรมการประเมินผลแผนงาน เทคโนโลยีสารสนเทศ
และกำหนดให้ฝ่ายศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จัดหาเครื่องและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ วางระบบเครือข่าย ติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จัดทำเว็บไซด์ใช้งานด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน ออกแบบและจัดทำฐานข้อมูล พัฒนาหลักสูตรคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผลงาน โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ให้คำแนะนำ และฝึกอบรมบุคลากรในการใช้คอมพิวเตอร์ และทำวิจัย ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนประสานการทำงานต่าง ๆ ภายในโรงเรียน นอกจากนี้ยังมีศูนย์วิทยบริการ ทำหน้าที่ให้บริการงานด้านโสตทัศนูปกรณ์ ประกอบด้วยการผลิต บริการยืม-คืนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การให้บริการห้องโสตฯ ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
แต่ละปีการศึกษาทางโรงเรียนให้ศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ เสนองาน โครงการ และกิจกรรม เพื่อพัฒนางานทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งโรงเรียนยังนำระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการบริหารจัดการ (Management Information System) มีการพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้ครูจัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต มีการฝึกอบรมปฏิบัติการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ แก่ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน เป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา มีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างครู ตลอดจนสนับสนุนให้ เผยแพร่ความรู้ไปยังครูในโรงเรียน ตลอดจนเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้ครูใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้

5.2 การติดตามประเมินผล
โรงเรียนมีฝ่ายนโยบายและแผน ทำหน้าที่ติดตาม แผนงาน โครงการ ของฝ่าย เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียน โดยจะต้องรายงานการดำเนินงาน โครงการ เป็นรายภาคเรียน และปีการศึกษา โดยมีการดำเนินการดังนี้
5.2.1 สร้างตัวชี้วัดเพื่อบ่งชี้ถึงความสำเร็จของการดำเนินการตามแผน เพื่อใช้ในการติดตามประเมินผล
5.2.2 ติดตามประเมินผล และรายงานการประเมินตนเอง
5.3 ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผนในภาพรวม และผลกระทบสุดท้ายของแผน มีดังนี้
5.3.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนในภาพรวม และผลกระทบสุดท้ายของแผน
1) การเพิ่มของผู้เรียนที่สามารถใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
2) การเพิ่มของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
3) การเพิ่มของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ e-Learning ของครู
4) สัดส่วนการบูรณาการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
5) ปริมาณห้องเรียน e-Class room และการใช้บริการห้องศูนย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
6) ปริมาณของผลงานวิจัยในชั้นเรียนด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ
7) จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม Web Site ทั้งศิษย์เก่า และ บุคคลทั่วไป

5.3.2 ตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนรายยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ตัวชี้วัดการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดการเรียนรู้และการบริหารงาน
1) อัตราการเพิ่มของครูและนักเรียนที่สามารถใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
2) จำนวนอัตราการเพิ่มของสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ของครู
3) จำนวนครูผู้สอนและบุคลากรด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ได้รับการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะสูงขึ้น
4) จำนวนครูผู้สอนที่มีการนำเอา เทคโนโลยีสารสนเทศ ไปใช้ในการเรียนการสอนและการเผยแพร่ผลงาน
5) จำนวนบุคลากรที่ได้รับการอบรมหรือดูงานจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ตัวชี้วัดการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา
1) การพัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้พัฒนาการเรียนรู้และทักษะชีวิต
2) จำนวนครั้งในการอบรมให้ความรู้ ICT กับนักเรียน นักศึกษา
3) จำนวนของนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับใบ Certifications
4) จำนวนครั้งที่จัดสอบวัดความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นพื้นฐาน
5 ) จำนวนหลักสูตรที่มีการบูรณาการภูมิปัญญาวัฒนธรรมเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ตัวชี้วัดการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัย และนวัตกรรมของครู
1) จำนวนผลงานวิจัย และนวัตกรรมที่ได้รับการเผยแพร่ ในรูปของมัลติมีเดีย
2) สถิติของผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชม
3) จำนวนครู บุคลากรทางการศึกษาที่เข้าใช้งานในระบบ
4) มีเคราองเครือข่ายที่มีสมรรถนะสูงเพื่อรองรับการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
5) จำนวนของครูที่ผ่านการอบรมการทำ Content แล้วนำไปเผยแพร่

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ตัวชี้วัดจัดหาสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพเพียงพอ เหมาะสมกับความต้องการ
1 ) จำนวนอุปกรณ์พ่วงต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยี
2 ) จำนวนโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการภายในโรงเรียน
3 ) ปริมาณการใช้บริการของศูนย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
4 ) จำนวนห้องเรียน e – classroom ที่บริการให้นักเรียนทุกระดับชั้น
5) ความเร็วในการติดตั้งและใช้งานระบบ Wireless






ยุทธศาสตร์ที่ 5 ตัวชี้วัดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการสื่อสารถึงเครือข่าย ชุมชนบุคคลภายนอก
1 ) การพัฒนาของระบบ Web Site ของโรงเรียนและปริมาณการเข้าเยี่ยมชมของบุคคลภายนอก
2.) การประชาสัมพันธ์โรงเรียนเป็นที่รู้จักมากขึ้นและทันสมัย
3) สถิติการเข้าใช้งานและความพึงพอใจของศิษย์เก่าที่มีต่อระบบงาน
4 ) จำนวนโครงการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ
5 ) จำนวนแหล่งข้อมูลในการสืบค้นและติดต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและ เอกชนภายในและต่างประเทศ
6) จำนวนนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เพิ่มมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น