วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
พ.ศ. 2553 - 2555

โดยประภาพันธุ์ แก้วโชติ

ตอนที่ 1 ภาพรวมของโรงเรียน
1.1 ข้อมูลโดยสรุปของโรงเรียน
โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 71 ถนน ห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 ก่อตั้งเมื่อ ปีการศึกษา 2521 โดยมี นายประเสริฐ ธนาฤทธิ์ เป็นผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการ และมีนายณรงค์ จันทรานนท์ เป็นครูใหญ่ โดยเปิดสอนในระดับอาชีวศึกษา ด้านบริหารธุรกิจ ใน 3 ระดับการศึกษาคือ 1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)รับผู้จบ ม.3 หรือเทียบเท่า 2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)รับผู้จบ ปวช. 3. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.ม. ปลาย) สำหรับผู้จบ ม.6 หรือเทียบเท่า ปัจจุบันบริหารงานในรูปของบริษัท ชื่อว่า บริษัทนครพิงค์พัฒนาจำกัด และเปิดสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้ การบัญชี การขาย การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การจัดการทั่วไป การท่องเที่ยว ธุรกิจค้าปลีก (ทวิภาคี) โดยมีนายจุมพล ชุติมา เป็นผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการ มีนางประภาพันธุ์ แก้วโชติ เป็นผู้อำนวยการ
จำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2552 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,130 คน แบ่งเป็นระดับปวช. จำนวน 632 คน เป็นชาย 298 คน เป็นหญิง 334 คน ระดับปวส. จำนวน 498 คน เป็นชาย 169 คน เป็นหญิง 329 คน มีครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 96 คน โดยแบ่งเป็น ผู้บริหาร 5 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 3 คน ครูผู้สอน 67 คน เป็นชาย 18 คน หญิง 49 คน บุคลากรทางการศึกษา 24 คน เป็นชาย 12 คน หญิง 12 คน
โรงเรียนได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการบริหารจัดการโดยเฉพาะในงานวิชาการ สนับสนุนให้ครูสร้างสื่ออิเลคทรอนิกส์และจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ระบบ E - Officeนอกจากนี้โรงเรียนยังมีการบริหารจัดการภายในโดยการนำโปรแกรม CMS. Intranet มาใช้ในการบริหารงาน เป็นต้น

1.2 วิสัยทัศน์ของโรงเรียนปีการศึกษา 2552 – 2555 (Vison)
มุ่งพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาชีพโดยส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องรวมทั้งระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และมุ่งเน้นให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การบริหารโรงเรียน การบริการชุมชน สามารถสื่อสารด้วยภาษาสากล และผลิตผู้เรียนที่มีคุณธรรม จริยธรรม บนพื้นฐานความมีวินัยและรับผิดชอบ ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามและวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข




1.3 พันธกิจ ปรัชญา เป้าประสงค์ และกลยุทธ์หลักปีการศึกษา 2552 - 2555
- พันธกิจหลักรองรับเพื่อนำบรรลุผลตามวิสัยทัศน์ (Mission)
1. พัฒนาผู้บริหารและครูให้เป็นบุคลากรมืออาชีพ
2. พัฒนาหลักสูตร สื่อ อุปกรณ์ ให้มีความเป็นเลิศผู้เรียนสามารถแสวงหาองค์ความรู้ด้วยตนเอง
3. ส่งเสริมความร่วมมือกับสถานประกอบการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมจัดการเรียนรู้และพัฒนาหลักสูตร
4. พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
5. พัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่น ๆ โดยมุ่งเน้นการสืบค้น สร้างองค์ความรู้ และการสื่อสารเพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
6. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ระดับสากล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการบริหารจัดการ
7. เพิ่มศักยภาพของบุคลากรทุกฝ่าย ทุกระดับ สู่มาตรฐานวิชาชีพ มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ
8. จัดสภาพแวดล้อมเป็นอุทยานการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีบรรยากาศร่มรื่นสวยงาม ปลอดภัย สะอาดและเป็นระเบียบ
9. สร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่ายภายใน
10. ใช้ระบบการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานภายในโรงเรียนให้เกิดความต่อเนื่อง


- ปรัชญาการศึกษาของ โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่

“ วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม นำความเป็นเลิศ”


- เป้าประสงค์ (Goals) ของโรงเรียน
1.ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทุกด้านเต็มตามศักยภาพของตนทั้งทางด้านภาษาต่างประเทศ การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้จาก Internet
2. ผู้เรียนทุกคนได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
3. ผู้เรียนทุกคนมีความรู้และทักษะตามหลักสูตรมาตรฐานการศึกษาของชาติและมาตรฐานสากล
4. ผู้เรียนมีความภูมิใจในความเป็นไทย มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ครูและบุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานภายใน โดยใช้ระบบ E – Office อย่างเต็มความสามารถและต่อเนื่อง
6. ครูทุกคนมีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มีความรอบรู้ ปฏิบัติงานได้จริง
7. ส่งเสริมความเข้มแข็งทางด้านวิชาการโดยให้ผู้สอนและผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
8. พัฒนาระบบสารสนเทศ นวัตกรรม สื่อเทคโนโลยีให้มีคุณภาพมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้พัฒนาการเรียนรู้และการจัดการให้มีประสิทธิภาพ
9. ผู้เรียนมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม อนุรักษ์พลังงาน เข้าใจและรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
10. ครู บุคลากร และผู้เรียนมีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน

- กลยุทธ์หลัก และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ปีการศึกษา 2552 – 2555 (Strategy)
กลยุทธ์หลัก
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1.ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทุกด้านเต็มตามศักยภาพของตนทั้งทางด้านภาษาต่างประเทศการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้จาก Internet
2.พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
1.1 ความซื่อสัตย์สุจริต
1.2 ความประหยัด
1.3 การปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
1. ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ เต็มตามศักยภาพโดยสามารถสืบค้นและเรียนรู้จากแหล่งความรู้ บน Intermet
2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียนSCC.

3. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะสู่มาตรฐานสากลในเรื่อง
3.1 การมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
3.2 มีทักษะความสามารถในการค้นคว้า แสวงหาความรู้
3.3 มีทักษะกระบวนการคิดระดับสูง
3.4 มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ
3.ผู้เรียนมี สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
4.ผู้เรียนมีทักษะความสามารถในการค้นคว้า
แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ และสื่อ
เทคโนโลยี
5. ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิดระดับสูง
6 ผู้เรียนมีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ
4. พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ เพื่อยกระดับ ความสามารถของผู้เรียนเต็มตามศักยภาพและ
มุ่งสู่มาตรฐานสากล
7. มีหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่มาตรฐาน
สากล
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
8 มีระบบการประกันคุณภาพของทุกงาน ทุกฝ่าย
ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
6. จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด
ร่มรื่น สวยงาม และปลอดภัย
9 มีบรรยากาศ สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้
สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย และเป็นแหล่งเรียนรู้
1. 7. สร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง
ชุมชน เครือข่ายภายใน และต่างประเทศ ให้เป็น
สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
10 ชุมชน ผู้ปกครอง เครือข่ายภายนอกร่วมกัน
พัฒนาการศึกษา

8. ส่งเสริมความเข้มแข็งทางด้านวิชาการโดยให้ผู้สอนและผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

11 โรงเรียนมีกระบวนการวิจัยเป็นสังคมแห่งการ
เรียนรู้
9. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ระดับสากล เพื่อ
เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ และ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แก่นักเรียน
11 สื่อเทคโนโลยีมีคุณภาพและทันต่อการใช้งานมุ่งเน้นการจักการภายในระบบ E - Office
10. เพิ่มศักยภาพของครูและบุคลากรทุกระดับสู่มาตรฐานวิชาชีพ
12 ผู้บริหาร ครู บุคลากร มีมาตรฐานวิชาชีพ
11. ระดมทรัพยากรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหาร
จัดการ
13 มีทรัพยากรเหมาะสมและบริหารจัดการอย่าง
มีประสิทธิภาพ

ตอนที่ 2 สถานภาพและสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงเรียน
2.1 สถานภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.1.1 ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network)
โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ ปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ จำนวน 550 เครื่อง โดยแต่ละเครื่องเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่าย และสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง โดยปกติการเชื่อมต่อระหว่างอาคารจะใช้สายเคเบิลใยแก้ว (Fiber Optic) ในการเชื่อมต่อภายในอาคารจะใช้สาย UTP เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับบริษัทเชียงใหม่อินเตอร์เน็ต โดยใช้ Leased Line ความเร็ว 8 Mbps มีเครื่องให้บริการ (Server) 10 เครื่อง ทำหน้าที่เป็น Domain Name Server (DNS), DHCP Server, E-mail, Web Server, Database Server, Print Server, e-Learning Server และ Server ในห้องเรียน
2.1.2 ด้านอาคารสถานที่ติดตั้งและเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware)
- คอมพิวเตอร์ในห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์
ห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์จำนวน 10 ห้องเรียน ทุกห้องเรียนมีระบบเครือข่าย (LAN) ภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่ออินเตอร์เน็ตได้ มีการเชื่อมต่อจากห้องเรียนมายังศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศของโรงเรียน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนอยู่ภายในอาคารมณีนพรัตน์ในชั้นที่ 2 – 4 โดยแต่ละห้องปฏิบัติการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ห้องละ 48 เครื่อง
- คอมพิวเตอร์ในห้อง บริการ Internet และห้องสมุด
โรงเรียนมีห้อง บริการ Internet เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นหาข้อมูล ความรู้ และข่าวสาร จำนวน 1 ห้อง มีเครื่องคอมพิวเตอร์บริการจำนวน 5 เครื่อง ห้องสมุดในโรงเรียนมี 1 ห้อง มีคอมพิวเตอร์บริการจำนวน 6 เครื่อง รวมมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการนักเรียนจำนวน 11 เครื่อง
- คอมพิวเตอร์สำหรับครูและบุคลากรในการปฏิบัติงาน
อาคารมณีนพรัตน์ชั้น 1 ซึ่งเป็นห้องสำนักงานและห้องฝ่ายงานต่าง ๆ มีคอมพิวเตอร์สำหรับบริหารงานด้านการเงิน - บัญชี 4 เครื่อง งานทะเบียนนักเรียน 6 เครื่อง งานกิจการนักเรียน นักศึกษา 4 เครื่อง งานกองทุนเงินให้กู้ยืม 4 เครื่อง งานประชาสัมพันธ์ 1 เครื่อง งานสารบรรณ 1 เครื่อง งานวิชาการ 4 เครื่อง งานศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง Sever 9 เครื่อง งานฝ่ายพัฒนาบุคลิกภาพ 4 เครื่อง งานฝ่ายส่งเสริมการตลาด 3 เครื่อง ผู้บริหาร 5 เครื่อง รวมจำนวน 43 เครื่อง อาคารนครพิงค์ 2 ชั้น 2 ซึ่งเป็นห้องพักครู และงานบุคลากร ห้องบุคลากร 3 เครื่อง Sever 1 เครื่อง ห้องสาขาคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง ห้องสาขาบัญชี การตลาด /การจัดการทั่วไป / การท่องเที่ยว 3 เครื่อง ห้องหมวดสามัญ 1 , 2 จำนวน 4 เครื่อง รวมจำนวน 12 เครื่อง อาคารนครพิงค์ 1 ชั้น 1 ห้องพัสดุครุภัณฑ์ มีจำนวน 1 เครื่อง ห้องฝ่ายอาคารสถานที่ จำนวน 1 เครื่อง ห้องรักษาดินแดนจำนวน 1 เครื่อง ห้องพยาบาล จำนวน 1 เครื่อง รวมอาคารนี้มีจำนวน 4 เครื่อง
2.1.3 ด้านบุคลากร (Peopleware)
โรงเรียนมีหน่วยงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ รับผิดชอบงานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงเรียน มีบุคลากรประกอบด้วย หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ ช่างเทคนิค เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่สารสนเทศ ทำหน้าที่ดังนี้
1. วางระบบเครือข่าย ติดตั้งเครื่อง และโปรแกรมคอมพิวเตอร์
1.1 วางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Networking) และอินเตอร์เน็ต (Internet) ในโรงเรียน
1.2 ติดตั้งโปรแกรมให้เครื่องให้บริการ และเครื่องใช้งาน
1.3 จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ต่อพ่วงในโรงเรียน และ เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่าย เข้ามาที่ศูนย์คอมพิวเตอร์
1.4 ประกอบเครื่อง ตรวจสอบ ซ่อมแซม และบำรุงรักษาเครื่องและอุปกรณ์
2. ดำเนินการ หรือปรับปรุง หรือพัฒนาหรือแก้ไข เกี่ยวกับ ICT โฮมเพจ(Home Page) E-Mail ของโรงเรียน
3. พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ CMS เพื่อใช้งานต่าง ๆ ในโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ออกแบบและจัดทำฐานข้อมูลและสารสนเทศของโรงเรียน
5. จัดทำสื่อนำเสนอข้อมูล สารสนเทศ และผลงานของโรงเรียน
6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็คทรอนิคส์ (e-Learnning)
7. ประสานการทำงานระหว่างงานประชาสัมพันธ์ เพื่อเผลแพร่ข่าวสารของโรงเรียน และหน่วยงานอื่นที่ใช้คอมพิวเตอร์
8. จัดทำข้อมูลสถิติของโรงเรียนให้เป็นปัจจุบันเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษา
นอกจากนี้โรงเรียนยังมีศูนย์วิทยบริการที่ให้บริการงานด้านโสตทัศนูปกรณ์ การจัดทำสื่ออิเล็คทรอนิกส์ สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ มีการฝึกอบรมปฏิบัติการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้แก่ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีการศึกษา สนับสนุนให้ครูสร้างสื่อนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ชิ้นงาน
2.1.4 การพัฒนาโปรแกรมและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (Software)
โรงเรียนได้พัฒนาโปรแกรมระบบบริหารงานโรงเรียน โดยใช้โปรแกรมเมอร์ของโรงเรียน ปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับใช้งานมากมาย เช่น โปรแกรมงานทะเบียน – วัดผล โปรแกรมงานวิชาการ โปรแกรมพัสดุ-ครุภัณฑ์ โปรแกรมระบบงานบัญชี โปรแกรมงานบุคลากร โปรแกรมงานกิจการนักเรียน และระบบ Intranet เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลภายในของโรงเรียน ฯ ล ฯ นอกจากนี้ทางโรงเรียนได้พัฒนาโปรแกรม ทำให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต นักเรียนสามารถเรียนรู้และติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอนผ่านระบบนี้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่ให้บริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เช่น การสืบค้นหาหนังสือในห้องสมุดโรงเรียน การตรวจสอบผลการเรียน และการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

2.2 สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (SWOT Analysis)
2.2.1 โอกาส (Opportunities)
- ผู้เรียนมีความสนใจและเข้าในในระบบการสื่อสารผ่านเครือข่าย และผู้เรียนส่วนใหญ่มีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
- กระแสของสังคมมีการตื่นตัวในการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตมากขึ้น
- หน่วยงานต้นสังกัดพยายามผลักดันให้โรงเรียนบริหารจัดการโดยใช้สารสนเทศ
- บริษัทที่รับเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีจำนวนมากและมีราคาถูกลง ในขณะที่ความเร็วสูงขึ้น
2.2.2 อุปสรรค (Threats)
- งบประมาณมีไม่เพียงพอในการที่จะจัดซื้อจัดหาคอมพิวเตอร์ที่เป็นรุ่นใหม่ ๆ เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
- อุปกรณ์ หรือ โปรแกรมบางชนิดมีราคาค่อนข้างสูง
2.2.3 จุดแข็ง (Strengths)
- โรงเรียนมีนโยบายที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
- โรงเรียนมีระบบเครือข่าย Internet ความเร็วสูงไว้ให้บริการแก่ผู้เรียน
- โรงเรียนมีเจ้าหน้าฝ่ายซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา การซ่อมบำรุงสะดวก รวดเร็ว และประหยัด
- โรงเรียนมีโปรแกรมระบบบริหารงานโรงเรียน CMS ช่วยให้การปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสะดวกและรวดเร็ว
- โปรแกรมระบบจัดการเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต ช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกหนทุกแห่ง โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
- ทุกจุดในโรงเรียนสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายภายใน(Lan)และใช้งานอินเตอร์เน็ตได้
- นักเรียนมีทักษะพื้นฐานด้าน การใช้คอมพิวเตอร์

2.2.4 จุดอ่อน (Weaknesses)
- การใช้คอมพิวตอร์ของผู้เรียนบางครั้งยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่ควรมักใช้ในการ เล่นเกมส์ แชต หรือเข้าเว็บที่ไม่เหมาะสม มากกว่าการเข้าไปศึกษา ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
- ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา บางคนยังขาดความสนใจและพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุค่อนข้างสูง
- เจ้าหน้าที่ด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบสารสนเทศซึ่งก้าวไปอย่างรวดเร็ว
- การจัดทำฐานข้อมูลของโรงเรียนยังขาดการประสานร่วมกันของฝ่ายงานต่าง ๆ ทำให้การรับข้อมูลเกิดความล่าช้า หรือซ้ำซ้อน
ตอนที่ 3 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2553 – 2555
วิสัยทัศน์
ในปีการศึกษา 2555 โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ เป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การบริหารโรงเรียน การบริการชุมชนอย่างต่อเนื่องและพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นสากล

พันธกิจ
1. พัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการเรียนรู้ และการบริหารจัดการ
2. เพิ่มศักยภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ทักษะและให้การฝึกอบรมในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระดับที่สูงขึ้น
3. พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จัดหาสื่อและอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอ
4. สร้างเครือข่ายและจัดบริการงานคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน การบริการวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษา ชุมชน โดยใช้ศักยภาพทุกด้านของโรงเรียนเป็นฐาน

วัตถุประสงค์
1. นักเรียน นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ได้ดีขึ้น และมีประสบการณ์ที่ดีจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสะดวกในการติดต่อประสานงาน และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ
4. เพื่อพัฒนาครูผู้สอนวิชาต่างๆให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสื่อกลางในการสืบค้นหาความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกับชุมชน และบุคคลภายนอก
เป้าหมาย
1. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการไม่ว่าจะเป็นครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษามากกว่า 80 %
2. มีการติดต่อประสานงานกันภายในโรงเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30%
3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนสามารถใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสร้างสื่อนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้หรือเพื่อพัฒนางานที่รับผิดชอบ
4. การจัดการเรียนการสอนของทุกสาขาวิชา มีการบูรณาการภูมิปัญญาและค่านิยมที่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ ในสาระและกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างชัดเจน
5. มีการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่พัฒนาขึ้นใช้ในงานวิชาการและการบริหารจัดการต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง
6. มีห้อง e – classroom สำหรับนักเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสร้างเครือข่ายสู่ความเป็นสากล อย่างน้อยระดับชั้นละ 1 ห้อง
7. มีศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับให้บริการด้านสื่ออีเลกทรอนิกส์ ทั้ง Hardware และ Software แก่ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
8. มีห้องปฏิบัติการสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจ (War room) ครอบคลุมงานด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน เพื่อช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจโดยอาศัยฐานข้อมูลโรงเรียนเป็นหลัก
9. มีระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless) ครอบคลุมทุกบริเวณในโรงเรียน

ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจัดการเรียนรู้และการบริหารงาน
1. ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาครูให้มีเทคนิค วิธีการในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างหลากหลาย โดยใช้การเรียนการสอนออนไลน์ เผยแพร่ผลงานและพัฒนาผลงานสู่ชุมชน สังคมที่กว้างออกไป
2. ส่งเสริมให้ครูผลิตสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการจัดการเรียนการสอน
3. พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและผู้รับผิดชอบด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความสามารถในการทำวิจัยเพื่อพัฒนางาน และนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงพัฒนางานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา
เพิ่มช่องทางการเรียนรู้เพื่อผลิตและพัฒนาคุณภาพนักเรียน นักศึกษาทุกระดับชั้นให้เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัย และนวัตกรรมของครู
ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือด้านการเรียนการสอนการทำวิจัยของโรงเรียนทั้งหน่วยงานภายในภายนอกเพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 จัดหาสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพเพียงพอ เหมาะสมกับความต้องการ
1. จัดหาเครื่องและอุปกรณ์พ่วงต่อคอมพิวเตอร์ ที่ทันสมัยให้เพียงพอเหมาะสมต่อความต้องการของนักเรียน นักศึกษา
2. พัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในงานการเรียนการสอน หรือการบริหารจัดการภายในโรงเรียนเพิ่มเติมจากที่มีอยู่
3. จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นศูนย์รวมสื่อ Software และ Hardware ให้บริการแก่ครู นักเรียน ผู้ปกครองและผู้สนใจในชุมชน
4. จัดทำห้องเรียน e - classroom ให้แก่นักเรียน
5. จัดหาอุปกรณ์จ่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless)

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการสื่อสารถึงเครือข่าย ชุมชนบุคคลภายนอก 1. ปรับปรุงช่องทางการประชาสัมพันธ์แก่ บุคลภายนอก
2. เพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับศิษย์เก่าผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศกับชุมชนโดยรอบโรงเรียน

ตอนที่ 5 การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล
5.1 การบริหารจัดการ
เพื่อให้แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ประสบผลสำเร็จดังเป้าหมายที่วางไว้จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างการบริหารจัดการและระบบติดตามประเมินผลเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการบริหารแผนการดำเนินงาน และการประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพดังนี้
5.1.1 สร้างความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับให้มีความรู้ความเข้าใจยอมรับและนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
5.1.2 สาขาวิชา และหมวดวิชาทุกระดับชั้น จัดการบูรณาการ ลงในแผนของสาขา/หมวดวิชา ให้สอดรับกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงเรียน
5.1.3 กำหนดให้แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
5.1.4 กำหนดให้มีคณะกรรมการรับผิดชอบการบริหารงาน เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
5.1.4.1 คณะกรรมการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1.4.2 คณะกรรมการพัฒนาสื่อและซอฟต์แวร์
5.1.4.3 คณะกรรมการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย
5.1.4.4 คณะกรรมการประเมินผลแผนงาน เทคโนโลยีสารสนเทศ
และกำหนดให้ฝ่ายศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จัดหาเครื่องและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ วางระบบเครือข่าย ติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จัดทำเว็บไซด์ใช้งานด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน ออกแบบและจัดทำฐานข้อมูล พัฒนาหลักสูตรคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผลงาน โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ให้คำแนะนำ และฝึกอบรมบุคลากรในการใช้คอมพิวเตอร์ และทำวิจัย ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนประสานการทำงานต่าง ๆ ภายในโรงเรียน นอกจากนี้ยังมีศูนย์วิทยบริการ ทำหน้าที่ให้บริการงานด้านโสตทัศนูปกรณ์ ประกอบด้วยการผลิต บริการยืม-คืนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การให้บริการห้องโสตฯ ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
แต่ละปีการศึกษาทางโรงเรียนให้ศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ เสนองาน โครงการ และกิจกรรม เพื่อพัฒนางานทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งโรงเรียนยังนำระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการบริหารจัดการ (Management Information System) มีการพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้ครูจัดทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต มีการฝึกอบรมปฏิบัติการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ แก่ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน เป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา มีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างครู ตลอดจนสนับสนุนให้ เผยแพร่ความรู้ไปยังครูในโรงเรียน ตลอดจนเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้ครูใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้

5.2 การติดตามประเมินผล
โรงเรียนมีฝ่ายนโยบายและแผน ทำหน้าที่ติดตาม แผนงาน โครงการ ของฝ่าย เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียน โดยจะต้องรายงานการดำเนินงาน โครงการ เป็นรายภาคเรียน และปีการศึกษา โดยมีการดำเนินการดังนี้
5.2.1 สร้างตัวชี้วัดเพื่อบ่งชี้ถึงความสำเร็จของการดำเนินการตามแผน เพื่อใช้ในการติดตามประเมินผล
5.2.2 ติดตามประเมินผล และรายงานการประเมินตนเอง
5.3 ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผนในภาพรวม และผลกระทบสุดท้ายของแผน มีดังนี้
5.3.1 ตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนในภาพรวม และผลกระทบสุดท้ายของแผน
1) การเพิ่มของผู้เรียนที่สามารถใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
2) การเพิ่มของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
3) การเพิ่มของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ e-Learning ของครู
4) สัดส่วนการบูรณาการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
5) ปริมาณห้องเรียน e-Class room และการใช้บริการห้องศูนย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
6) ปริมาณของผลงานวิจัยในชั้นเรียนด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ
7) จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม Web Site ทั้งศิษย์เก่า และ บุคคลทั่วไป

5.3.2 ตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนรายยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ตัวชี้วัดการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดการเรียนรู้และการบริหารงาน
1) อัตราการเพิ่มของครูและนักเรียนที่สามารถใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
2) จำนวนอัตราการเพิ่มของสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ของครู
3) จำนวนครูผู้สอนและบุคลากรด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ได้รับการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะสูงขึ้น
4) จำนวนครูผู้สอนที่มีการนำเอา เทคโนโลยีสารสนเทศ ไปใช้ในการเรียนการสอนและการเผยแพร่ผลงาน
5) จำนวนบุคลากรที่ได้รับการอบรมหรือดูงานจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ตัวชี้วัดการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา
1) การพัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้พัฒนาการเรียนรู้และทักษะชีวิต
2) จำนวนครั้งในการอบรมให้ความรู้ ICT กับนักเรียน นักศึกษา
3) จำนวนของนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับใบ Certifications
4) จำนวนครั้งที่จัดสอบวัดความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นพื้นฐาน
5 ) จำนวนหลักสูตรที่มีการบูรณาการภูมิปัญญาวัฒนธรรมเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ตัวชี้วัดการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัย และนวัตกรรมของครู
1) จำนวนผลงานวิจัย และนวัตกรรมที่ได้รับการเผยแพร่ ในรูปของมัลติมีเดีย
2) สถิติของผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชม
3) จำนวนครู บุคลากรทางการศึกษาที่เข้าใช้งานในระบบ
4) มีเคราองเครือข่ายที่มีสมรรถนะสูงเพื่อรองรับการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
5) จำนวนของครูที่ผ่านการอบรมการทำ Content แล้วนำไปเผยแพร่

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ตัวชี้วัดจัดหาสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพเพียงพอ เหมาะสมกับความต้องการ
1 ) จำนวนอุปกรณ์พ่วงต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยี
2 ) จำนวนโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการภายในโรงเรียน
3 ) ปริมาณการใช้บริการของศูนย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
4 ) จำนวนห้องเรียน e – classroom ที่บริการให้นักเรียนทุกระดับชั้น
5) ความเร็วในการติดตั้งและใช้งานระบบ Wireless






ยุทธศาสตร์ที่ 5 ตัวชี้วัดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการสื่อสารถึงเครือข่าย ชุมชนบุคคลภายนอก
1 ) การพัฒนาของระบบ Web Site ของโรงเรียนและปริมาณการเข้าเยี่ยมชมของบุคคลภายนอก
2.) การประชาสัมพันธ์โรงเรียนเป็นที่รู้จักมากขึ้นและทันสมัย
3) สถิติการเข้าใช้งานและความพึงพอใจของศิษย์เก่าที่มีต่อระบบงาน
4 ) จำนวนโครงการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ
5 ) จำนวนแหล่งข้อมูลในการสืบค้นและติดต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและ เอกชนภายในและต่างประเทศ
6) จำนวนนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เพิ่มมากขึ้น

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปัจจุบันนวัตกรรม (Innovation) ได้มีผู้รู้นักคิด สร้างสิ่งที่มีประโยชน์ใหม่ๆที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ในหน่วยงานและองค์กรอย่างกว้างขวาง รวมทั้ง เทคโนโลยีสารสนเทศ( International Technology ) หรือที่นิยมเรียกว่า IT ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันองค์กรธุรกิจต่างๆมีการแข่งขันกันสูง ผู้ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารเร็วหรือเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าคนอื่นเท่านั้นถึงจะเป็นผู้ชนะ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศ ยังมีบทบาทต่อการตัดสินใจของผู้บริหารได้รวดเร็วและถูกต้อง
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้สร้างความท้าทายแก่ผู้บริหารเป็นอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศสร้างผลกระทบในเชิงลึกต่อวัฒนธรรมความคิด และรูปแบบในการแก้ปัญหาของบุคคล ซึ่งผู้บริหารในอนาคตต้องมีทักษะโดยเฉพาะความรู้ความใจในศักยภาพ และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้องและเกิด ประโยชน์แก่องค์กร ผู้บริหารต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร ผู้บริหารต้องรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่ยังมีผู้บริหารบางส่วนขาดวิสัยทัศน์ในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้บริหารหลายคนยังติดอยู่กับระบบงานที่เชื่องช้า ไม่ยืดหยุ่นตลอดจนมีความคิดหรือกระบวนทัศน์( Paradigm) ที่ไม่เปลี่ยนแปลงไม่ยอมรับและไม่กล้าต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี แต่ก็คงไม่มีใครปฏิเสธที่ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการขององค์กรในอนาคต
ปัจจุบันมีการกล่าวถึงระบบสารสนเทศกันมาก ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของภาคเอกชน หรือ ภาครัฐก็ตาม การดำเนินงานเกือบทุกขั้นตอนจะต้องมีสารสนเทศเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหาร หรือการปฏิบัติงานก็ตาม เช่น ร้านค้าขายสินค้าก็จะมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าในแต่ละประเภท ,ข้อมูลลูกค้า ,ข้อมูลการขาย ,ฝ่ายบุคคลก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานแต่ละคน ในองค์กรที่เป็นสถานศึกษาก็มีความจำเป็นในการจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลที่จำเป็นเช่น ข้อมูลนักเรียน ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติการมาเรียน การประเมินผลการเรียน งานการเงินบัญชี งานพัสดุครุภัณฑ์ งานบริหารบุคลากร เป็นต้น ตัวอย่างที่กล่าวมาเป็นข้อมูลที่จะนำมาใช้สร้างสารสนเทศ และสารสนเทศต่างๆเหล่านี้จะทำให้ผู้บริหารขององค์กร สามารถที่จะทราบข้อมูลเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการในองค์กรของตนให้บรรลุตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์อย่างเป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงเห็นได้ว่าสารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานขององค์กรในยุคปัจจุบัน

วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

การบริหารโรงเรียนคุณภาพ

การศึกษาของไทยตามแผนการปฏิรูปการศึกษาในรอบแรกจะเห็นได้ว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเพราะสิบปีของการปฏิรูปการศึกษาที่ทำมา บอกชัดเจนถึงเป้าหมายที่ไม่บรรลุผล แทบทุกเรื่อง คุณภาพที่ต่ำลง เป็นเรื่องน่าใจหายอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาของเด็กไทย ซึ่งจะเป็นทรัพยากรบุคคลของชาติ ฉะนั้นขณะนี้จึงมีการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2 เกิดขึ้นเพื่อหวังว่าจะได้พัฒนาการศึกษาของไทยให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งสาระของการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2 เป็นดังนี้
สาระสำคัญของข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 - 2561)
· วิสัยทัศน์ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
· เป้าหมาย ภายในปี 2561 มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยเน้นประเด็นหลักสามประการ คือ
1. คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม หลักสูตรและเนื้อหา พัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า สามารถดึงดูดคนเก่งดีและมีใจรักมาเป็นครูคณาจารย์ได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
2. เพิ่มโอกาสการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม ในการบริหารและจัดการศึกษา โดยเพิ่มบทบาทของผู้ที่อยู่ภายนอกระบบการศึกษาด้วย
· กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา มีการปฏิรูปการศึกษาและเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดย 1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ที่เป็นผู้เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มีคุณค่า สามารถดึงดูดคนเก่ง คนดี มีใจรักในวิชาชีพครูมาเป็นครู
3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทุกระดับ/ประเภทให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพและพัฒนาแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สำหรับการศึกษาและเรียนรู้ทั้งในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย
4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและทุกภาคส่วน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
จากวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กรอบแนวทางในการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2 ของรัฐบาลดังกล่าวข้างต้น ในฐานะที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษามีความคาดหวังที่จะเห็นการศึกษาของคนไทยและสังคมไทยมีคุณภาพเป็นสถานศึกษาที่ให้บริการทางการศึกษาที่สนองตอบต่อความต้องการของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ มีขีดความสามารถในการแข่งขัน มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสภาพแวดล้อม บรรยากาศ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข จึงต้องมีการพัฒนาโรงเรียนในหลาย ๆ ด้านโดยอาศัยหลักและทฤษฎีการบริหารมาช่วยในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการปฏิรูปและทำโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพเพื่อสนองตอบตรงตามหลักการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2
โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ เป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่เปิดสอนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) และระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ตามหลักสูตรพณิชยกรรม สาขาวิชาพณิชยการ โดยมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของโรงเรียน ดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision)
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ บริหารแบบมีส่วนร่วม สร้างครูมืออาชีพ พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี ใฝ่คุณธรรม สัมพันธ์กับชุมชนและภาคีเครือข่าย

พันธกิจ (Mission)
สร้างทีมบริหารที่มีคุณภาพอย่างมือและทำโรงเรียนคุณภาพ ให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีระบบ รู้จักการคิดวิเคราะห์ มีความสามารถด้านเทคโนโลยี มีคุณธรรม รักษ์วัฒนธรรมไทย สร้างการยอมรับและสัมพันธ์อันดีกับชุมชน ใช้ระบบการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงาน
วิธีการในการปฏิรูปกระบวนการบริหารของโรงเรียนเพื่อเป็น โรงเรียนคุณภาพ ตรงตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของโรงเรียนและ การปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2

กลยุทธ์หลักด้านต่าง ๆ ที่ควรต้องมีการปฏิรูป
1. สร้างพลังขับเคลื่อนให้โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่ดี
2. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ เชิงบูรณาการ
3. สร้างเสริมศักยภาพบุคลากรของโรงเรียนทุกระดับให้เป็นมืออาชีพ
4. เพิ่มสมรรถนะของโรงเรียนและบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5. สร้างภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ที่เข้มแข็ง กับชุมชน
การขับเคลื่อนกลยุทธ์ ใช้หลักการบริหารจัดการแบบ Balanced Scorecard เพื่อกำหนดผลสำเร็จอย่างสมดุลรอบด้าน


วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives)

เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดวิเคราะห์
1. มีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
2. ใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้
3. มีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียนอย่างเป็นระบบ
4. มีความสามารถคิดสร้างสรรค์

มีทักษะการดำรงชีวิตมั่นใจในตนเอง
1. มีทักษะในการเรียนรู้
2. มีทักษะการจัดการตนเอง
3. มีความมั่นใจในตนเอง
4. มีทักษะทางสังคม
5. กล้าแสดงออก
6. มีคุณธรรม

มีความเป็นไทย นักเรียนมีความเป็นไทย มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สืบสานประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

บูรณาการการเรียนรู้ในโรงเรียน
1. พัฒนาแหล่งเรียนรู้
2. วิจัยพัฒนาหลักสูตร
3. พัฒนาห้องปฏิบัติการ
4. พัฒนาห้องสมุด
5. หลักสูตรยืดหยุ่นสอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียน
6. สนับสนุนสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้
7. บูรณาการการเรียนรู้กับการดำรงชีวิต
8. มีผลงานคิดสร้างสรรค์ ใช้สื่อ ICT
9. นักเรียนรักการอ่าน การเรียนรู้

โรงเรียนธรรมาภิบาล โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่ดีมีการสนับสนุนสื่อ-นวัตกรรม พัฒนาผู้บริหาร ปรับสภาพแวดล้อมบรรยากาศและวัฒนธรรมการปฏิบัติงานแบบกัลยาณมิตร ผนึกพลังสร้างสรรค์ ร่วมรับผิดชอบ มีเอกลักษณ์โดดเด่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนา

สร้างโอกาสดูแลช่วยเหลือ โรงเรียนให้บริการทางการศึกษาได้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริมนักเรียนตามศักยภาพอย่างทั่วถึง เช่น พัฒนาประสิทธิภาพระบบดูแลช่วยเหลือนร. เทียบเคียงมาตรฐานระหว่างโรงเรียน สนับสนุนนวัตกรรม-สื่อพัฒนาทักษะ เทคนิค ประสานองค์กรวิชาชีพเสริมสร้างศักยภาพน.ร. จัดตั้งกองทุนอาหารกลางวัน เป็นต้น

ประกันคุณภาพ โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพที่เข็มแข็ง เพิ่มระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาให้สูงขึ้นเป็นที่ยอมรับของชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง ใช้ระบบเทียบเคียงมาตรฐานกับโรงเรียนต้นแบบหรือองค์กรอื่น

มืออาชีพ ครู ผู้บริหาร กรรมการสถานศึกษาบุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1. ครูมีจิตวิญญาณความเป็น
2. พัฒนาหลักสูตร-การเรียนรู้เชิงบูรณาการ
3. ยกย่องเชิดชูเกียรติ
4. ใช้ ICTพัฒนางาน
5. ผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
6. ระบบพี่เลี้ยง-ผู้เชี่ยวชาญการนิเทศ
7. ทักษะวิชาชีพ
8. คัดเลือก-เผยแพร่ผลงาน

E-School
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ICT
2. ใช้ระบบ ICT บริหารงานโรงเรียน
3. จัดทำโปรแกรมบริหารงานโรงเรียน
4. พัฒนาบุคลากรด้าน ICT
5. พัฒนาเว็บไซต์ที่มี Interaction
6. จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ICT
7. พัฒนาระบบ E-Learning E- Office

ภาคีเครือข่าย โรงเรียนมีระบบเครือข่าย ผู้เชี่ยวชาญ พี่เลี้ยง ศึกษานิเทศก์ ชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

คุ้มค่า โรงเรียนมีทรัพยากรที่เหมาะสม ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล


แผนการดำเนินการเพื่อให้ยุทธศาสตร์ต่าง ๆสำเร็จ จะต้องมีการดำเนินการปฏิรูปกระบวนการบริหารในหลาย ด้าน ดังนี้
1. แผนพัฒนาระบบบริหารและการจัดการ
2. แผนพัฒนาคุณภาพนักเรียน และกระบวนการจัดการเรียนรู้
3. แผนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. แผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5. แผนพัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา

แผนพัฒนาระบบบริหารและการจัดการ
1. ปรับระบบบริหารจัดการ
2. พัฒนาระบบประกันคุณภาพ
3. พัฒนาประสิทธิภาพระบบดูแลช่วยเหลือ นร.
4. นิเทศส่งเสริมคุณภาพ รร.
5. ติดตาม ประเมินผล รายงาน
6. วิจัย พัฒนารูปแบบ-นวัตกรรมโครงการ

แผนพัฒนาคุณภาพนักเรียน และกระบวนการจัดการเรียนรู้
1. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
2. พัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้
3. เสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต
4. สืบสานศิลปวัฒนธรรมฯ

แผนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
1. พัฒนาครู
- ปฏิรูปการเรียนรู้, ICT, การเรียนรู้แบบบูรณาการ
2. พัฒนาผู้บริหาร
- ร.ร.ธรรมาภิบาล, พัฒนาหลักสูตร, ประกันคุณภาพ, ระบบดูแลช่วยเหลือ นร.

แผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1. พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ICT
2. พัฒนาระบบบริหารจัดการ ICT
3. ประสานงานพัฒนาเครือข่าย ICT

แผนพัฒนาระบบภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา
1. พัฒนาระบบเครือข่ายฯ
2. สนับสนุนพี่เลี้ยง สช. และ สพท.
3. ช่วยเหลือ ร.ร.ในเครือข่าย
4. บริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

การจะพัฒนาหรือปฏิรูปกระบวนการบริหารภายในโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ และสนองตามตามแผนการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหารต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการบริหารและการพัฒนาโรงเรียนอย่างถ่องแท้และลึกซึ้ง ดังนั้นในการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารควรมีหลักและกระบวนการบริหาร ภาพรวมของการบริหารทั้งนี้เพื่อให้การจัดการบริหารสถานศึกษามีความเหมาะสมคำดังที่ผู้รู้ด้านการบริหารได้ให้ความหมายของการบริหารไว้ดังนี้ “การบริหาร”(Administration) ใช้ในความหมายกว้าง ๆ เช่น การบริหารราชการ อีกคำหนึ่ง คือ “ การจัดการ” (Management) ใช้แทนกันได้กับคำว่า การบริหาร ส่วนมากหมายถึง การจัดการทางธุรกิจมากกว่าโดยมีหลายท่านได้ระบุดังนี้

Peter F Drucker : คือ ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น
Herbert A. Simon :กล่าวว่าคือ กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุวัถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน
(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2) การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว(Simon)
การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni)
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard)
การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง
, 2542 : 1)
ส่วนคำว่า “การบริหารการศึกษา” หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ
เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 6)
คำว่า “สถานศึกษา” หมายความ ว่าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตามประกาศกระทรวง(พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, 2547 : 23)
การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การบริหารเป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมการบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์(Arts) ทั้งนี้การที่จะบริหารสถานศึกษาให้สำเร็จได้มี ปัจจัยสำคัญการบริหาร 4 อย่าง หรือ 4 Ms คือ
1. คน (Man)
2. เงิน (Money)
3. วัสดุสิ่งของ (Materials)
4. การจัดการ (Management)

...................................................

การค้นคว้าอิสระ

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

การศึกษาวิจัยการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ มีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
1. ประชากร
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน หัวหน้าสาขาวิชา 3 คน หัวหน้าหมวดวิชา 2 คน และครูผู้สอน 64 คน รวมทั้งสิ้น 70 คน ที่ทำการสอนในโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2552

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ(Check List)
ตอนที่ 2 การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ ทั้ง 4 ด้านคือ การบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การนิเทศการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผล เป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
ปฏิบัติในระดับมาก = 3
ปฏิบัติในระดับปานกลาง = 2
ปฏิบัติในระดับน้อย = 1
ตอนที่ 3 เป็นคำถามแบบปลายเปิดเพื่อแสดงความคิดเห็น ปัญหา และข้อเสนอแนะในการ บริหารงานวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ทั้ง 4 ด้าน

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาเอกสาร ตำรา วารสาร บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการและรายละเอียดวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
2. ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถามจากตำรา เอกสารการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
3. สร้างแบบสอบถามฉบับร่างเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย เพื่อตรวจสอบแก้ไขแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ
4. นำร่างแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา จากนั้นนำแบบสอบถามไปทดสอบหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามกับกลุ่มประชากรตัวอย่าง ได้แก่ คณะครูโรงเรียนพณิชยการเชียงใหม่ จำนวน 30 คน โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ ครอนบาช (Cronbach Alpha Co- efficient) (ยุทธ ไกยวรรณ์ , 2545 หน้า 174) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.9138
5. นำข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยเพื่อปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถาม แล้วนำไปจัดพิมพ์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป

การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
1. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ถึง ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่เพื่อขออนุญาตและขอความร่วมมือในการรวบรวมข้อมูล
2. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำแบบสอบถามไปแจกให้กับผู้ตอบแบบสอบถาม พร้อมทั้งนัดหมาย วัน เวลา ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์นับจากวันแจกแบบสอบถาม
3. เก็บรวบรวมแบบสอบถามคืนด้วยตนเอง โดยแจกแบบสอบถามไป 70 ชุด ได้รับคืนมาทั้งหมด 70 ชุด
4. นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมแบบสอบถามไปวิเคราะห์

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย
ตอนที่ 2 การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปตารางประกอบคำบรรยาย ซึ่งการแปลความหมายค่าเฉลี่ยเป็นรายข้อ ได้ปรับปรุงจากเกณฑ์ของบุญส่ง นิลแก้ว (2541 , หน้า 146) โดยกำหนดไว้ดังนี้

ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.00 หมายถึง มีการปฏิบัติในระดับ มาก
ค่าเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง มีการปฏิบัติในระดับ ปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.00 หมายถึง มีการปฏิบัติในระดับ น้อย
ตอนที่ 3 ปัญหา และข้อเสนอแนะในการ บริหารงานวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ความถี่ประกอบคำบรรยาย

การค้นคว้าอิสระ

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การบริหารงานวิชาการนับเป็นงานที่ถือเป็นหัวใจหลักในการบริหารโรงเรียน เนื่องจากงานวิชาการเป็นงานที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะ การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ดังนั้นผู้วิจัยจึงมุ่งที่จะศึกษาถึงสภาพและปัญหาในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษา ดังนี้
1. ความหมายและความสำคัญของการบริหารงานวิชาการ
2. ขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการ
3. การบริหารหลักสูตร
4. การจัดการเรียนการสอน และการนิเทศการสอน
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ความหมายและความสำคัญของการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการเป็นงานสำคัญถือเป็นหัวใจหลักในการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบ และการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนนั้นมิใช่เฉพาะแต่เพียงงานการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงกิจกรรมทุกอย่างภายในโรงเรียนที่ก่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ ภิญโญ สาธร (2526 , หน้า 234) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการไว้ว่า เป็นการบริหารกิจกรรมทุกชนิดของโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการสอนนักเรียนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ส่วน อมรา เล็กเริงสินธุ์ (2540 , หน้า 175) ได้ให้ความหมายของงานวิชาการว่าหมายถึง กิจกรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นงานหลักของโรงเรียนจนมีคำกล่าวว่า งานวิชาการเป็นหัวใจของการสถานศึกษา เพราะสถานศึกษาหรือโรงเรียนนั้นมีหน้าที่ให้ความรู้พื้นฐานเพื่อให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองดี ดังนั้นผลผลิตของโรงเรียนจะมีคุณภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับงานของฝ่ายวิชาการนี้ เช่นเดียวกับ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 , หน้า 16) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการไว้ว่า หมายถึง การบริหารสถานศึกษาโดยมีการจัดกิจกรรมทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน
จากการที่นักการศึกษาทั้งหลายได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการไว้ดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่าการบริหารงานวิชาการหมายถึง การบริหารกิจกรรมทุกชนิดของโรงเรียนที่เกี่ยวกับการจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนเพื่อเป็นการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อผู้เรียน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่หลักของผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องเป็นผู้นำ และสนับสนุนส่งเสริมให้งานวิชาการของโรงเรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากนั้นนักการศึกษาหลายคนยังได้ให้ความสำคัญกับการบริหารงานวิชาการไว้ ดังนี้
นพพงษ์ บุญจิตราดุล(2547 , หน้า 21) ได้ให้ความสำคัญและเสนอแนะให้ผู้บริหารใช้เวลาในงานบริหารแต่ละประเภท ดังนี้
1. งานบริหารวิชาการ 40%
2. งานบริหารบุคคล 20%
3. งานบริหารกิจการนักเรียน 20%
4. งานสัมพันธ์กับชุมชน งานบริหารธุรการ การเงิน อาคารสถานที่บริเวณ
และงานบริการ 20%
ในขณะที่ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 , หน้า 15) ได้กล่าวว่างานวิชาการเป็นหลักของสถานศึกษาไม่ว่าสถานศึกษาจะเป็นประเภทใด มาตรฐานและคุณภาพของสถานศึกษาจะพิจารณาได้จากผลงานด้านวิชาการ เนื่องจากงานวิชาการเกี่ยวข้องกับหลักสูตร การจัดโปรแกรมการศึกษา การจัดการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นหัวใจของสถานศึกษา และเกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทุกระดับ
ส่วนอุทัย บุญประเสริฐ (2530 , หน้า 129) ได้กล่าวถึงความสำคัญของงานวิชาการว่าโรงเรียนที่ได้รับความสำเร็จทางด้านวิชาการ คือ นักเรียนที่เป็นผลผลิตของโรงเรียนมีคุณภาพและมีคุณสมบัติตามที่หลักสูตรกำหนด คือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง หรือเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ จะทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงและได้รับการยกย่อง
จากความคิดเห็นของนักการศึกษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า งานวิชาการเป็นหัวใจหลักของโรงเรียนเพราะโรงเรียนเป็นแหล่งที่ทำหน้าที่ให้การศึกษา ดังนั้นผู้บริหารและครูจะต้องให้ความสำคัญในงานวิชาการเป็นอันดับหนึ่งจากงานที่มีทั้งหมด จึงควรจัดกิจกรรมต่างๆ ให้สมดุลและส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อให้การศึกษาแก่ผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ

ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ
งานวิชาการเป็นงานที่มีความสำคัญและถือเป็นภารกิจหลักของสถานศึกษา ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับการบริหารงานวิชาการ เข้าใจถึงการดำเนินงานวิชาการ และขอบข่ายของงานวิชาการตามบทบาทหน้าที่ของตนเพื่อที่จะได้บริหารงานให้ครอบคลุมงานต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนและเหมาะสม มีนักการศึกษาได้ให้ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการไว้ ดังนี้
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 , หน้า 17) กล่าวถึงขอบข่ายการบริหารวิชาการไว้ดังนี้
1. การวงแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ เป็นการวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ได้แก่ การจัดทำแผนปฏิบัติงานวิชาการ การจัดทำโครงการสอน และบันทึกการสอน
2. การจัดดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน ได้แก่ การจัดตารางสอน การกำหนดวิชา เวลา ผู้สอน ตลอดจนผู้เรียนแต่ละวิชา การจัดชั้นเรียน จัดแบบเรียน การปรับปรุงการเรียน การสอน และ การฝึกงาน เป็นต้น
3. การบริหารเกี่ยวกับการเรียนการสอน เป็นการจัดเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการจัดหลักสูตร และโปรแกรมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดสื่อการสอน การจัดห้องสมุด การนิเทศการสอน เป็นต้น
4. การวัดและประเมินผล เป็นกระบวนการเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในด้านการตรวจสอบและวิเคราะห์ผลการเรียน
ในขณะที่ เรือง เจริญศรี และเสรี ลาชโรจน์ ฤ2526 , หน้า 224) ได้กล่าวว่า งานวิชาการโรงเรียนควรแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. งานสอนและกิจกรรมนักเรียน
2. งานเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน
3. งานวัดผลและประเมินผล
4. งานส่งเสริมวิชาการ
สำหรับ สายหยุด จำปาทอง (2526 , หน้า 3) ได้ให้แนวคิดไว้ว่างานวิชาการได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการการเรียนการสอนส่วนใหญ่มุ่งเน้นหลักสูตร การจัดโปรแกรมการเรียนการสอน การจัดทำโครงการสอน การเตรียมการสอน สื่อการสอน ตลอดจนการติดตามประเมินผลการสอน
จากที่กล่าวมา พอจะสรุปได้ว่าขอบข่ายการบริหารงานวิชาการส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านการเรียนการสอน การจัดการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษาที่ได้กำหนดไว้

การบริหารหลักสูตร
การบริหารงานวิชาการ ถือเป็นงานที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารสถานศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีความรู้เข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องของหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ดังนี้
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 , หน้า 40-41) กล่าวว่าหลักสูตรมีความหมาย 3 ประการคือ
1. หลักสูตรเป็นศาสตร์ที่มีทฤษฏี หลักการและการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามที่มุ่งหมายไว้
2. หลักสูตรเป็นระบบในการจัดการศึกษา โดยมีปัจจัยนำเข้า (Input) เช่น ครู นักเรียน วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ กระบวนการ (Process) ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลผลิต(Output) คือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสำเร็จทางการศึกษา เป็นต้น
3. หลักสูตรเป็นแผนจัดการเรียนการสอน ที่มุ่งประสงค์จะอบรมฝึกฝนผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ
ในขณะที่ อำนาจ จันทร์แป้น (2532 , หน้า 3) ได้วิเคราะห์ความหมายของหลักสูตรไว้ ดังนี้
1. หลักสูตรในฐานะเป็นเนื้อหาและวิชาเนื้อหาเป็นการมองว่าหลักสูตรเป็นวิชาและเนื้อหาวิชาที่ครูจะต้องสอนและนักเรียนจะต้องเรียน
2. หลักสูตรในฐานะที่เป็นประสบการณ์ ซึ่งหมายถึง ประสบการณ์ทั้งมวลที่ผู้เรียนได้รับภายใต้การแนะแนวของโรงเรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
3. หลักสูตรในฐานะที่เป็นแผนของโอกาสการเรียน(แผนประสบการณ์) หลักสูตรที่สมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยแผนการหรือเจตนารมณ์ ซึ่งจุดเน้นจะไม่จำกัดอยู่เฉพาะที่จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ของหลักสูตร ได้แก่ การนำหลักสูตรไปใช้หรือการสอนและการประเมินผล
4. หลักสูตรเป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง ซึ่งการนำหลักสูตรไปใช้ต้องดำเนินการเป็นกระบวนการโดยตระหนักในความสำคัญของผู้เรียนและให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นให้มากที่สุด
ส่วน พนัส หันนาคินทร์ (ม.ป.ป , หน้า 116) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรว่า เป็นประสบการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความเจริญขึ้นในส่วนของผู้เรียนประสบการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้นเพื่อนักเรียนนี้ย่อมเป็นไปตามความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมนั้นที่เรียกว่า วัฒนธรรมของสังคมนั้น
จากความหมายของหลักสูตรที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ พอสรุปได้ว่าหลักสูตรคือศาสตร์ในการบริหารงานด้านวิชาการที่จะจัดการวางแผน จัดประสบการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และมีพฤติกรรมเป็นที่ปรารถนาในสังคม
องค์ประกอบของหลักสูตร
อำภา บุญช่วย (2537 , หน้า 18 -20) กล่าวว่าองค์ประกอบของหลักสูตรควรมี อย่างน้อย 4 อย่างซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร คือความมุ่งหมายของการศึกษานั่นเอง การกำหนดความมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นการตอบคำถามว่า จะจัดการศึกษาเพื่ออะไร หรือในการจัดการศึกษานั้นต้องการให้ผู้ได้รับการศึกษามีคุณลักษณะอย่างไร โดยปกติการกำหนดจุดมุ่งหมายต้องคำนึงถึงปรัชญาของแต่ละสังคมเป็นหลักเกณฑ์เบื้องต้น
2. เนื้อหา คือสาระที่เป็นความรู้ที่ประมวลหรือรวบรวมมา เพื่อจัดอย่างมีระเบียบระบบให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามที่ต้องการ เนื้อหาสาระและความรู้ของแต่ละวิชาจะประกอบไปด้วยสิ่งที่เป็นข้อมูลหรือข้อเท็จจริง แต่ในการนำหลักสูตรไปใช้ก็ไม่ควรสอนเฉพาะเนื้อหาที่ควรรู้อย่างเดียว
3. การนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ในการเลือกและการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนั้นจะต้องรู้ว่า อะไรที่ควรจัดให้ผู้เรียน และอะไรที่จัดแทนกันได้บ้าง ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใดขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ช่วงเวลาเรียน ความสนใจในวิชาที่เรียน ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอนจึงต้องคำนึงถึงผู้เรียนและควรให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมได้ลงมือกระทำเอง แสวงหาคำตอบด้วยตนเอง
4. การประเมินผล การประเมินผลขึ้นกับองค์ประกอบที่หนึ่ง คือ จุดมุ่งหมาย ถ้าไม่มีจุดมุ่งหมายก็ไม่สามารถประเมินผลได้ ในการประเมินผลจะต้องประเมินให้ได้ว่าประสบการณ์ทั้งหมดที่จัดให้แก่ผู้เรียนมีความยากง่าย ซ้ำซ้อน และจัดลำดับไว้เหมาะสมเพียงใด การประเมินผลควรง่าย และสะดวกต่อการเรียนการสอน มีแบบบันทึกที่เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย ซึ่งผลที่ได้จะเป็นข้อมูลย้อนกลับในการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรต่อไป
จากองค์ประกอบของหลักสูตรดังกล่าว จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถสร้างหลักสูตรของสถานศึกษาให้ครอบคลุม และดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้ในสถานศึกษาให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนและสถานศึกษา

การจัดการเรียนการสอน และการนิเทศการสอน
การจัดการเรียนการสอน เป็นกระบวนการที่สำคัญของการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดในการใช้หลักสูตรเพราะเป็นกิจกรรมที่ใกล้ชิดกับผู้เรียน โดยครูเป็นผู้จัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียน โดยคำนึงถึงบรรยากาศ ความเหมาะสม
กมล ภู่ประเสริฐ (2535 , หน้า 152 ) กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอน หมายถึง การ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
สำหรับ สุมิตร คุณากร (2518 , หน้า 137) มีความเห็นว่าการจัดการเรียนการสอน หมายถึง การกระทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีต่าง ๆ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาการไปตามเป้าหมายของหลักสูตรที่ต้องการ
ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นกระบวนการที่ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนร่วมมือกันทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ความสามารถจนมีประสบการณ์ชีวิตที่มีคุณค่า เพื่อจะได้เป็นพลเมืองดีของสังคม ด้วยเหตุนี้การเรียนการสอนจึงถือว่าเป็นภารกิจอีกประการหนึ่งที่โรงเรียนต้องให้ความสำคัญ
นอกจากนั้นกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรก็ยังมีความจำเป็นที่โรงเรียนต้องดำเนินการ ดังที่ กระทรวงศึกษาธิการ (2534 , หน้า 3) ได้เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการต่าง ๆ เพื่อจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จาการเรียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน จะต้องฝึกให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง จนเกิดทักษะและความชื่นชมที่ได้ปฏิบัติ
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ยืดหยุ่นตามเงื่อนไขและสภาพความต้องการของท้องถิ่นโดยประยุกต์เข้ากับสภาพปัญหา ความต้องการของท้องถิ่นหรือชุมชน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ในท้องถิ่นของตน และปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและความผูกพันกับท้องถิ่นของตน
3. การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียนให้มากที่สุดโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้และฝึกให้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ในขณะที่ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 , หน้า 90-91) ได้กล่าวถึงหลักในการเลือกวิธีการสอนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ของเรื่องที่ต้องการสอน การเลือกวิธีสอนต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์เพื่อจะได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
2. วิธีการสอนเหมาะสมกับเนื้อหาที่สอน เช่น เนื้อหาที่เป็นหลักการ หรือทฤษฏีสามารถใช้วิธีบรรยายและฝึกทักษะควบคู่กันไป
3. วิธีการสอนควรเหมาะสมกับความถนัดของผู้สอน เป็นความถนัดของผู้สอนที่จะสอนแบบนั้น
4. วิธีการสอนต้องเหมาะสมกับชั่วโมงสอนในหลักสูตร ข้อจำกัดของเวลาเป็นตัวกำหนดของวิธีการสอน
5. วิธีการสอนเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน และขนาดของห้องเรียน การสอนแบบบรรยายสามารถสอนผู้เรียนได้มากกว่าการสอนแบบอภิปราย
6. วิธีการสอนเหมาะสมกับผู้เรียน เช่น ความรู้เดิม ความสนใจเป็นข้อพิจารณาในการเลือกวิธีการสอนด้วย
การสอนเป็นภาระหน้าที่หลักของครูไม่ว่าจะเป็นการสอนในระดับใด ในด้านการสอนนั้นเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน จึงเรียกรวมกันว่า การเรียนการสอน การสอนนอกจากเป็นการให้วิชาความรู้ แล้วยังเป็นการฝึกประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน การสอนมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นระหว่างการสอน และขั้นประเมินผล ทฤษฏีการสอนจะทำให้ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนได้ดีขึ้น วิธีการสอนมีหลายวิธีแต่ละวิธีมีข้อดี ข้อจำกัด การเลือกวิธีสอนครูควรเลือกหลายๆ วิธีผสมผสานซึ่งมีหลักในการเลือกโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของเนื้อหาวิชา ความถนัดของผู้สอน ความต้องการของผู้เรียน เวลา จำนวนผู้เรียน และสื่อการสอน
กนก จันทร์ขจร (2532 , หน้า 217) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนว่า ครูที่ดีจะต้องหาวิธีการสอนแบบต่างๆ ไว้ล่วงหน้า พิจารณากำหนดกิจกรรมการสอนว่าจะทำอย่างไร จะอธิบายหรืออภิปราย จะแบ่งกลุ่มทำงาน หรือให้นักเรียนค้นคว้าอะไรอย่างไร ในแผนรายวิชาจะบอกไว้อย่างย่อ กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนักเรียนเกิดการเรียนรู้ ต้องหาวิธีการให้นักเรียนมีส่วนร่วม ได้ปฏิบัติกิจกรรมให้มากที่สุด ครูผู้สอนต้องวิเคราะห์เนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ จัดหาสื่อ ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางกิจกรรมการเรียนการสอนและเรียนด้วยการปฏิบัติ ครูควรเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอน ผู้กระทำเอง มาเป็นผู้ประสานกิจกรรมและชี้แนะให้นักเรียนปฏิบัติ
จากหลักการที่กล่าวมาสรุปได้ว่างานด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลาย เป็นกระบวนการใช้หลักสูตรที่ครูมีความใกล้ชิดกับนักเรียนมากที่สุด และเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่จะทำให้การดำเนินการศึกษาเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนด โดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียนจะต้องปรึกษาหารือและวางนโยบายร่วมกับครูผู้สอน และมีเป้าหมายของการปรับปรุงการเรียนการสอน การจัดครูเข้าสอน การให้บริการครูในด้านสื่อการสอน วัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
สำหรับการนิเทศการเรียนการสอนเป็นการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนของครู จุดประสงค์ของการนิเทศ ก็คือเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของนักเรียน และเพื่อลดการสูญเปล่าทางการศึกษา การนิเทศการเรียนการสอนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในระบบการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณารวมถึง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้านวิชาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใหม่ ๆ และนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนให้ก้าวทันพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการนิเทศการสอนไว้ ดังนี้
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 , หน้า 261) ได้ให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาไว้ว่า กระบวนการจัดบริหารการศึกษาเพื่อชี้แนะ ให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือกับครูและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ส่วนการนิเทศภายในสถานศึกษานั้น หมายถึง การนิเทศที่มีการริเริ่มและจัดดำเนินการโดยบุคลากรภายในสถานศึกษา และในหลายโอกาสก็เชิญบุคลากรภายนอกเป็นวิทยากรร่วมโครงการ
ส่วน จรัส โพธิศิริ (2523 , หน้า 113) กล่าวว่า การนิเทศการศึกษา (Educational Supervision) หมายถึง ความพยายามทุกชนิดที่บุคลากรทางการศึกษาได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นิเทศการศึกษา ในการแนะนำครูหรือบุคลอื่นที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาให้รู้จักวิธีปรับปรุงการสอนหรือให้การศึกษา การนิเทศการศึกษามาช่วยให้เกิดความงอกงามในวิชาชีพทางการศึกษา ช่วยพัฒนาครู ช่วยในการเลือกและปรับปรุงวัตถุประสงค์ของการศึกษา ช่วยเลือกและปรับปรุงเนื้อหาของกานสอน ช่วยเหลือและปรับปรุงวิธีสอน และช่วยเลือกวิธีการปรับปรุงการประเมินผลการสอน
ขณะที่ สุกานดา ตปนียางกูร (2539 , หน้า 4-5) ได้กล่าวไว้ว่า การนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนหมายถึง กระบวนการในการทำงานที่บุคลากรในโรงเรียนร่วมมือกันคิดขึ้น จัดขึ้นในการพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะและเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงานวิชาการ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู อันจะส่งผลให้มีการจัดการศึกษาของโรงเรียนมีคุณภาพสูงขึ้น
อำภา บุญช่วย (2537 , หน้า 111) กล่าวเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการนิเทศภายในโรงเรียนดังนี้
1. เพื่อช่วยให้ทราบถึงสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของโรงเรียนทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนางานบริหารและงานวิชาการ
2. เพื่อให้ครูได้จัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนได้ถูกต้องตามจุดหมายที่วางไว้
3. เพื่อให้ครูได้ตระหนักถึงปัญหาในการจัดประสบการณ์ ทั้งให้สามารถแก้ปัญหาได้
4. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ครูผู้สอน
5. เพื่อมุ่งให้เกิดความร่วมมือ และประสานงานในด้านการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
6. เพื่อควบคุมมาตรฐาน และพัฒนางานในด้านการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่าการนิเทศการสอนเป็น งานสำคัญในการบริหารงานวิชาการ เพราะเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการเรียนการสอนภายในโรงเรียนให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ครูได้รับการปรับปรุง และพัฒนางานในหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น อันจะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการเรียนการสอนภายในโรงเรียนและผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทต่อการนิเทศภายในโรงเรียนเพราะเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารจึงทำหน้าที่ทั้งบริหารและนิเทศจึงถือได้ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยสมบูรณ์ในฐานะนักบริหาร
การวัดผลและการประเมินผล
ในด้านความหมายการวัดและการประเมินผล ได้มีนักวิชาการทางการศึกษาไว้หลายความหมายและจะเห็นได้ว่าการวัดผลประเมินผลมีความเกี่ยวโยงกัน ฉะนั้นผู้บริหารโรงเรียนซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเรียนการสอนจะต้องมีความเชี่ยวชาญในการบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวัดผลและประเมินผล
อำภา บุญช่วย (2537, หน้า 129) กล่าวว่า การวัดผลและประเมินผลการเรียน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การเรียนรู้ของนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นกระบวนการที่ตรวจสอบว่านักเรียนได้ถึงจุดหมายปลายทางตามที่หลักสูตรต้องการหรือไม่เพียงใดผลจากการวัดผลและประเมินผลจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ครูผู้สอนได้นำไปพิจารณาหาวิธีแก้ไขข้อบกพร่องและจุดอ่อนในด้านต่างๆ ๆด้ ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการวัดและประเมินผล รวมทั้งให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างจริงจังอีกด้วย
พนัส หันนาคินทร์ (ม.ป.ป , น้า 138) กล่าวว่า การวัดผล (Measurement) หมายถึง การเปรียบเทียบผลที่ได้จากการเรียนกับมาตรฐานอันหนึ่งที่ยึดถืออยู่ การวัดผลมีลักษณะเป็นรูปธรรม กล่าวคือเรามักแสดงผลออกของการวัดออกมาเป็นตัวเลข เพื่อแสดงว่านักเรียนมีความรู้มากน้อยเพียงใดจากการที่ได้เรียนไปแล้ว สำหรับการประเมินผล (Evaluation) เป็นการกำหนดค่าหรือราคา (Value Judgment) จากคะแนนที่เราได้จากการวัดผลนั้น เช่นเก่งหรือไม่เก่ง ดีหรือไม่ดี เป็นต้น
สำหรับ ภัทรา นิคมานนท์ (2532 , หน้า 18) ได้กล่าวว่า การวัดผลคือ การใช้เครื่องมือหรือเทคนิควิธีเพื่อไปรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะที่ต้องการวัด ซึ่งมีทั้งข้อมูลปริมาณและคุณภาพส่วนการประเมินผล คือการนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากการวัดผลพิจารณาตัดสินเปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปตัดสินใจ
ในเรื่องเดียวกัน นิพนธ์ กินาวงศ์ (2533 , หน้า 72) กล่าวว่า การวัดผลประเมินผลเป็นกิจกรรมที่ทำควบคู่กัน โดยปกติการประเมินผลในโรงเรียนมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ การประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน
ประโยชน์ของการวัดผลและประเมินผล
ไพศาล หวังพานิช ได้สรุปประโยชน์ของการวัดผลและประเมินผลไว้ดังนี้
1. ด้านการเรียนการสอน
1.1 ประโยชน์ต่อนักเรียน
1.1.1 ทำให้รู้ระดับความสามารถในแต่ละด้านของตน
1.1.2 ทำให้รู้สิ่งบกพร่องที่ตนเองต้องรีบแก้ไข
1.1.3 ช่วยในการเลือกโปรแกรมวิชาเรียน
1.1.4 ได้รับการซ่อมเสริมข้อบกพร่องต่าง ๆ
1.1.5 ทำให้รู้ระดับความงอกงามในการเรียนของตน
1.1.6 ทำให้รู้ระดับความสามารถของตนเอง
1.1.7 ทำให้ตื่นตัวในการเรียน
1.2 ประโยชน์ต่อครูผู้สอน
1.2.1 ช่วยให้รู้พื้นความรู้ของนักเรียน
1.2.2 ช่วยกำหนดจุดเริ่มต้นของการสอน
1.2.3 ทำให้ทราบความก้าวหน้าของผลการเรียน
1.2.4 ทำให้ทราบความเด่น – ด้อยของนักเรียนและช่วยแก้ไขข้อบกพร่องได้ตรงจุด
1.2.5 ช่วยในการจัดกลุ่มนักเรียน เลือกวิธีสอน และจัดกิจกรรมการสอนได้เหมาะสม
1.2.6 ทำให้ทราบคุณภาพการสอนของตน
1.2.7 ช่วยในการรายงานผลการเรียนแก่ผู้ปกครอง
2. ด้านการแนะแนว
2.1 ช่วยให้วินิจฉัยความสามารถของนักเรียนแต่ละคน
2.2 ช่วยให้รู้รายละเอียด ปัญหา ข้อบกพร่องของนักเรียนซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการให้คำแนะนำปรึกษาทั้งด้านการเรียน และอาชีพ
2.3 ช่วยในการสำรวจความถนัดและความสนใจของของนักเรียน
2.4 ช่วยให้ผู้สอน ผู้บริหาร ผู้ปกครอง เห็นปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียน เพื่อร่วมือกันหาทางแก้หรือส่งเสริมลักษณะของนักเรียน
3. ด้านการบริหาร
3.1 ช่วยในการสอบคัดเลือกคือคัดสรรนักเรียน
3.2 ช่วยให้รู้สถานภาพทางการศึกษาที่แท้จริงของสถานศึกษา
3.3 ทำให้เห็นข้อบกพร่องต่าง ๆ ในด้านการเรียนการสอนที่ควรแก้ไขปรับปรุง
3.4 ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษา
3.5 ใช้เป็นข้อมูลสำหรับรายงานผลให้ผู้บริหารการศึกษา และประชาชนทราบ
3.6 ใช้เป็นข้อมูลสำหรับงานแนะแนวของสถานศึกษา
3.7 ก่อให้เกิดการวิจัย เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของสถานศึกษา
4. ด้านการวิจัย
4.1 ทำให้เห็นปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน การบริหารที่ควรจะศึกษาหาความจริงเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา
4.2 ทำให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับใช้วิเคราะห์ผลในกระบวนการวิจัย
5. ด้านผู้ปกครอง
5.1 ทำให้ผู้ปกครองทราบความเจริญงอกงามของเด็กตนว่าเป็นอย่างไร
5.2 เพื่อช่วยเตรียมการสนับสนุนในการเรียนต่อ หรือการเลือกอาชีพ

จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการวัดผลและประเมินผล เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ถือว่าเป็นกิจกรรมทางวิชาการที่สำคัญ ซึ่งเป็นการเรียบเทียบผลการเรียนที่ได้จากการเรียนรู้กับมาตรฐานอันหนึ่งที่ยึดอยู่ซึ่งเป็นรูปธรรม ที่จะทำให้ทราบว่าการดำเนินการจัดการเรียนการสอนนั้นบรรลุความมุ่งหมายที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด มีปัญหาอุปสรรคและข้อบกพร่องอย่างไร และนำข้อบกพร่องเหล่านั้นมาเป็นแนวทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาที่เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ ได้มีผู้วิจัยในเรื่องการบริหารด้านวิชาการในโรงเรียนไว้หลายคน ซึ่งผู้วิจัยพอจะนำมาเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
วัฒนา มโนจิตร (2540) ได้ศึกษาการปฏิบัติงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ พบว่า งานหลักสูตรและนำหลักสูตรไปใช้ที่ได้ปฏิบัติ 3 อันดับแรก ได้แก่ การส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกชั้นจัดทำแผนการสอน กำหนดการสอน มีการเตรียมเอกสารและหลักสูตรคู่มือครูให้เพียงพอกับความต้องการ และมีการแนะนำให้ครูใช้แผนการสอนเป็นหลักในการสอน ในส่วนด้านการเรียนการสอน สำหรับครูผู้สอนมีความเห็นว่างานด้านการเรียนการสอนที่ปฏิบัติมา 3 อันดับแรก ได้แก่ มีการเตรียมการสอนโดยใช้แผนการสอน เอกสารคู่มือครู เป็นแนวทางในการจัดทำบันทึกแผนการสอน จัดให้มีการสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่มีปัญหาอย่างสม่ำเสมอ และมีการแนะนำชี้แจงให้เห็นประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน งานด้านการเรียนการสอนครูผู้สอนมีความคิดเห็นว่าที่ได้ปฏิบัติงานมาใน 3 อันดับแรก ได้แก่ การชี้แจงทำความเข้าใจ กับครูผู้สอนเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียน มีการส่งเสริมให้ครูประเมินผลการปฏิบัติตนเอง และมีการชี้แจงโครงการนิเทศให้แก่ครูทราบก่อนการปฏิบัตินิเทศ ส่วนงานด้านการวัดผลประเมินผลที่ได้ปฏิบัติมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ การกำหนดเวลาในการวัดผลประเมินผลระหว่างภาคเรียน ปลายภาคเรียน และตลอดภาคเรียนมีการสนับสนุนให้ครูได้จัดสร้างข้อสอบ สนับสนุนให้โรงเรียนมีเครื่องมือวัดผลและประเมินผล รวมทั้งข้อสอบไว้ใช้ทุกระดับ
สำหรับ ทองคำ บัวอินทร์ (2541) ได้ศึกษาสภาพการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษา อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย พบว่า มีการส่งเสริมให้ครูพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมมากที่สุด ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน มีการส่งเสริมให้ครูมีการเตรียมการล่วงหน้า และการจัดบรรยากาศการเรียนการสอนที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา ได้ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการตามแผน นอกจากนี้ยังมีการดำเนินการนิทศภายในอีกด้วย
ส่วน อัมพร ฟุ้งเฟื่อง (2541) ได้ศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองเชียงราย พบว่า ในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนดังกล่าวได้มีการกำหนดเป้าหมายและการวางแผนชัดเจนมีความพร้อมในเรื่องหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ การจัดการเรียนการสอนตรงตามหลักสูตร มีสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่อง วัสดุการเรียนการสอนตลอดจนการส่งเสริมการนำไปใช้ มีห้องสมุดเป็นสัดส่วน มีกิจกรรมการนิเทศเพื่อช่วยปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนของครู รวมทั้งมีการวัดผลประเมินผลสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาของหลักสูตร
นอกจากนี้ เสาวคนธ์ โอภาสสถิรกุล (2536) ได้ศึกษา สภาพการบริหารงานวิชาการ ในโรงเรียนปรินส์รอยเยลส์วิทยาลัย ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่ามีปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานวิชาการด้านต่าง ๆ ดังนี้คือ ครูบางส่วนไม่เข้าใจเรื่องหลักสูตร ครูไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนการสอนเนื่องจากเคยชินกับการปฏิบัติแบบเดิม ครูไม่ชำนาญในการเขียนแผนการสอนและไม่ปฏิบัติตามแผนการสอน การซ่อมเสริมยังไม่มีประสิทธิภาพ ครูไม่มีเวลาในการสอนซ่อมเสริมเพราะได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมพิเศษต่าง ๆของโรงเรียน ครูขาดบ่อย การเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ไม่คล่องตัว ห้องโสตทัศนูปกรณ์ไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่โสตทัศนูปกรณ์ให้บริการไม่คล่องตัว ครูขาดความรู้ทักษะในการวัดผลประเมินผลในแผนก ครูไม่เห็นความสำคัญและความจำเป็นในการนิเทศ ขาดการนิเทศครูอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง การแนะแนวบริการไม่ครอบคลุม งานซ่อมบำรุงอาคารล่าช้า และโรงเรียนมีกิจกรรมมากเกินไป
ขณะที่ จำนง สมควร (2545) ได้ศึกษาการปฏิบัติงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานประถมศึกษา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย พบว่า การปฏิบัติงานเกือบทุกงานเกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน พบว่าส่วนที่ยังไม่ได้ปฏิบัติได้แก่ ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานที่วางไว้ ประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้ ประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน จัดทำสื่อการสอน การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้จากสภาพจริง ประเมินผลการดำเนินงานห้องสมุด จัดทำแผนการใช้ห้องสมุด กำหนดบทบาทของผู้นิเทศไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบปัญหาการขาดแคลนครู ครูไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอน ขาดแคลนงบประมาณ ไม่มีการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง หนังสือห้องสมุดมีไม่เพียงพอ ขาดแคลนผู้ทำหน้าที่บรรณารักษ์ และนิเทศอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ในทำนองเดียวกัน เทียม วันมหาชัย (2545) ได้ศึกษาการปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนฮอดพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ในการจัดการเรียนการสอนของครูได้แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนทุกครั้ง จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และเตรียมเนื้อหาได้เหมาะสมกับสภาพความพร้อมของผู้เรียน ส่วนที่ไม่ได้ปฏิบัติ คือ เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดแผนการเรียน ประดิษฐ์นวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาการเรียน ไม่มีบุคคลภายนอกมาช่วยจัดการเรียนการสอน
ส่วน วารุณี โพธาสินธุ์ (2542) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ครูผู้สอนเห็นว่าผู้บริหารโรงเรียนมีพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการที่แสดงออกถึงทักษะการบริหาร ดังนี้ ทักษะด้านความคิดรวบยอดที่ปฏิบัติได้ คือ การส่งเสริมให้ครูจัดทำสื่อการเรียนการสอน ในทางตรงกันข้ามไม่ได้ปฏิบัติคือ การจัดให้มีการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบและไม่แน่ใจ คือ วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เพื่อนำมาปรับแผนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ส่วนทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ที่ได้ปฏิบัติ คือ ยกย่องผลงานของครูที่ประสบผลสำเร็จ ในทางตรงกันข้ามไม่ได้ปฏิบัติ คือ การเชิญวิทยากรหรือผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นมาให้ความรู้แก่นักเรียน ไม่แน่ใจ คือ สนใจปัญหาและความต้องการของครู และทักษะด้านเทคนิควิธีที่ได้ปฏิบัติ คือ การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนและครูเป็นปัจจุบัน ในทางตรงกันข้ามไม่ได้ปฏิบัติ คือ ประเมินผลโครงการนิเทศภายในทุกครั้ง ไม่แน่ใจ คือ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่าการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนต่าง ๆ มีความสำคัญเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ มีความรู้ และคุณธรรม ซึ่งสถานศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานวิชาการในบางประเด็นอีกทั้งยังพบว่าบางสถานศึกษามีปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานวิชาการ เช่น การนิเทศภายในสถานศึกษา ครูไม่เห็นความสำคัญของแผนการสอน หรือยังขาดความรู้ความเข้าใจในการทำแผนการสอน โรงเรียนยังไม่สามารถจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นได้อย่างถูกต้อง ผู้ปกครองมีส่วนร่วมน้อย ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ของแต่ละโรงเรียนมีความคล้ายคลึงกัน และสามารถใช้เป็นแนวทางในการที่แต่ละโรงเรียนจะนำไปปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโรงเรียนของตนให้มีประสิทธิภาพด้านงานวิชาการ ดังนั้นการบริหารงานวิชาการจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกคนที่ต้องตระหนักถึงความสำคัญของงานวิชาการ

การค้นคว้าอิสระ

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 ได้กล่าวเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการศึกษาว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ จามมาตรานี้จะเห็นได้ว่า การจัดการศึกษาที่ดี อย่างเป็นระบบ มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาด้าน สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ฉะนั้นการบริหารงานการศึกษาด้านวิชาการของสถานศึกษาจึงมีความสำคัญ ดังเช่น อุทัย บุญประเสริฐ (2532 , หน้า 219 ) ได้กล่าวถึงความสำคัญของงานวิชาการไว้ว่า งานวิชาการเป็นงานที่พิสูจน์ความสำเร็จขอสถานศึกษา หรือความสำเร็จของสถานศึกษาคือเด็กที่เป็นผลผลิตของโรงเรียนมีคุณภาพ และคุณสมบัติตามที่หลักสูตรกำหนด คือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ มีความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด ดังนั้นหากโรงเรียนสามารถดำเนินการให้การเรียนการสอนบรรลุ วัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ก็แสดงว่าประสบความสำเร็จ ดังที่ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 , หน้า 15) ได้ยืนยันความสำคัญของงานวิชาการไว้ว่า งานวิชาการเป็นงานหลักของการบริหารสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาประเภทใด มาตรฐานและคุณภาพของสถานศึกษาจะพิจารณาได้จากผลงานด้านวิชาการ เนื่องจากงานวิชาการเกี่ยวข้องกับหลักสูตร การจัดโปรแกรมการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นหัวใจของสถานศึกษาและเกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทุกระดับของสถานศึกษา จากการแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า งานวิชาการเป็นหัวใจหลักของสถานศึกษาทุกแห่งผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องให้ความสนใจและสนับสนุนงานด้านวิชาการเป็นพิเศษ เนื่องจากผลสำเร็จของงานวิชาการจะเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันถึงความสำเร็จในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาด้วย
โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ เป็นโรงเรียนเอกชนที่เปิดทำการสอนในระดับอาชีวศึกษาประเภทวิชาพาณิชยกรรม ตามหลักสูตรของกรมอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ที่ล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาและมีความตระหนักถึงความสำคัญของงานวิชาการ และเห็นว่างานวิชาการเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา เนื่องจากผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษาจะให้ความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนหากสถานศึกษามีความเข็มแข็งและงานวิชาการมีประสิทธิภาพ แต่ปัจจุบันโรงเรียนเอกชนที่เปิดทำการสอนในระดับอาชีวศึกษามีการแข่งขันสูงมากเนื่องจากจำนวนนักเรียนที่จะเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงลดลง อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจที่ผู้ปกครองไม่สามารถรับภาระค่าธรรมเนียมการเรียนของโรงเรียนเอกชนที่มีอัตราสูงกว่าโรงเรียนรัฐบาล หรือนโยบายในการรับนักเรียน นักศึกษาของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาของรัฐบาล และระดับอุดมศึกษาของรัฐ เป็นต้น ดังนั้นโรงเรียนจะต้องมีการบริหารจัดการด้านงานวิชาการให้มีความแตกต่างกับสถานศึกษาอื่น สามารถแข่งขัน และสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียน ผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี และมีคุณภาพ ประสิทธิภาพตามที่ตลาดแรงงานต้องการ
ผู้ศึกษาในฐานะที่เป็นผู้บริหารโรงเรียนพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้งานวิชาการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง จึงได้ศึกษาเกี่ยวกับ การบริหารงานหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การนิเทศการสอน และการวัดและประเมินผลการเรียน เพื่อที่จะได้นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาปรับปรุงงานวิชาการของโรงเรียนให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่

ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตด้านประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ที่สอนในปีการศึกษา 2552 โดยจำแนกเป็นผู้บริหาร 1 คน หัวหน้าสาขาวิชา 3 คน หัวหน้าหมวดวิชา 2 คน และครูผู้สอน 64 คน รวมทั้งสิ้น 70 คน
ขอบเขตด้านเนื้อหา
การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2552 ใน 4 ด้านด้วยกัน คือ
1. การบริหารหลักสูตร
2. การจัดการเรียนการสอน
3. การนิเทศการเรียนการสอน
4. การวัดผลและการประเมินผล



นิยามศัพท์เฉพาะ
การบริหารงานวิชาการ หมายถึง การบริหารกิจกรรมทุกชนิดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนการฝึกอบรมและกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่กำหนดไว้
สภาพการบริหารงานวิชาการ หมายถึง สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นผลมาจากการบริหารงานของผู้บริหาร ในโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
ผู้บริหาร หมายถึง ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้าสาขาวิชา หัวหน้าหมวดวิชา หัวหน้างาน ของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
ครูผู้สอน หมายถึง ครูประจำวิชาต่างๆ ที่ได้รับมอบมายให้ทำหน้าที่ในการสอนในโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หมายถึง หลักสูตรการเรียนการสอนที่รับผู้จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) หมายถึง หลักสูตรการเรียนการสอนที่รับผู้จบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือเทียบเท่าเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่

ประโยชน์ที่จะได้รับ
เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงแก้ไขการบริหารงานวิชาการ ตลอดจนนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนางานด้านวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การค้นคว้าอิสระ

โครงร่างการวิจัย

ชื่อเรื่องงานวิจัย การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่

ชื่อผู้วิจัย นางประภาพันธุ์ แก้วโชติ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 ได้กล่าวเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการศึกษาว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ จามมาตรานี้จะเห็นได้ว่า การจัดการศึกษาที่ดี อย่างเป็นระบบ มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาด้าน สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ฉะนั้นการบริหารงานการศึกษาด้านวิชาการของสถานศึกษาจึงมีความสำคัญ ดังเช่น อุทัย บุญประเสริฐ (2532 , หน้า 219 ) ได้กล่าวถึงความสำคัญของงานวิชาการไว้ว่า งานวิชาการเป็นงานที่พิสูจน์ความสำเร็จขอสถานศึกษา หรือความสำเร็จของสถานศึกษาคือเด็กที่เป็นผลผลิตของโรงเรียนมีคุณภาพ และคุณสมบัติตามที่หลักสูตรกำหนด คือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ มีความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด ดังนั้นหากโรงเรียนสามารถดำเนินการให้การเรียนการสอนบรรลุ วัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ก็แสดงว่าประสบความสำเร็จ ดังที่ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 , หน้า 15) ได้ยืนยันความสำคัญของงานวิชาการไว้ว่า งานวิชาการเป็นงานหลักของการบริหารสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาประเภทใด มาตรฐานและคุณภาพของสถานศึกษาจะพิจารณาได้จากผลงานด้านวิชาการ เนื่องจากงานวิชาการเกี่ยวข้องกับหลักสูตร การจัดโปรแกรมการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นหัวใจของสถานศึกษาและเกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทุกระดับของสถานศึกษา จากการแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า งานวิชาการเป็นหัวใจหลักของสถานศึกษาทุกแห่งผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องให้ความสนใจและสนับสนุนงานด้านวิชาการเป็นพิเศษ เนื่องจากผลสำเร็จของงานวิชาการจะเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันถึงความสำเร็จในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาด้วย
โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ เป็นโรงเรียนเอกชนที่เปิดทำการสอนในระดับอาชีวศึกษาประเภทวิชาพาณิชยกรรม ตามหลักสูตรของกรมอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ที่ล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาและมีความตระหนักถึงความสำคัญของงานวิชาการ และเห็นว่างานวิชาการเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา เนื่องจากผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษาจะให้ความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนหากสถานศึกษามีความเข็มแข็งและงานวิชาการมีประสิทธิภาพ แต่ปัจจุบันโรงเรียนเอกชนที่เปิดทำการสอนในระดับอาชีวศึกษามีการแข่งขันสูงมากเนื่องจากจำนวนนักเรียนที่จะเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงลดลง อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจที่ผู้ปกครองไม่สามารถรับภาระค่าธรรมเนียมการเรียนของโรงเรียนเอกชนที่มีอัตราสูงกว่าโรงเรียนรัฐบาล หรือนโยบายในการรับนักเรียน นักศึกษาของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาของรัฐบาล และระดับอุดมศึกษาของรัฐ เป็นต้น ดังนั้นโรงเรียนจะต้องมีการบริหารจัดการด้านงานวิชาการให้มีความแตกต่างกับสถานศึกษาอื่น สามารถแข่งขัน และสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียน ผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี และมีคุณภาพ ประสิทธิภาพตามที่ตลาดแรงงานต้องการ
ผู้ศึกษาในฐานะที่เป็นผู้บริหารโรงเรียนพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้งานวิชาการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง จึงได้ศึกษาเกี่ยวกับ การบริหารงานหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การนิเทศการสอน และการวัดและประเมินผลการเรียน เพื่อที่จะได้นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาปรับปรุงงานวิชาการของโรงเรียนให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ที่สอนในปีการศึกษา 2552 โดยจำแนกเป็นผู้บริหาร 1 คน หัวหน้าสาขาวิชา 3 คน หัวหน้าหมวดวิชา 2 คน และครูผู้สอน 64 คน รวมทั้งสิ้น 70 คน
เนื้อหา การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2552 ใน 4 ด้านด้วยกัน คือ การบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การนิเทศการเรียนการสอน และการวัดผลและการประเมินผล

นิยามศัพท์เฉพาะ
การบริหารงานวิชาการ หมายถึง การบริหารกิจกรรมทุกชนิดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนการฝึกอบรมและกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่กำหนดไว้
สภาพการบริหารงานวิชาการ หมายถึง สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นผลมาจากการบริหารงานของผู้บริหาร ในโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
ผู้บริหาร หมายถึง ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้าสาขาวิชา หัวหน้าหมวดวิชา หัวหน้างาน ของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
ครูผู้สอน หมายถึง ครูประจำวิชาต่างๆ ที่ได้รับมอบมายให้ทำหน้าที่ในการสอนในโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หมายถึง หลักสูตรการเรียนการสอนที่รับผู้จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) หมายถึง หลักสูตรการเรียนการสอนที่รับผู้จบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือเทียบเท่าเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงแก้ไขการบริหารงานวิชาการ ตลอดจนนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนางานด้านวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ ซึ่งผู้ศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษา ดังนี้
1. ความหมายและความสำคัญของการบริหารงานวิชาการ
2. ขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการ
3. การบริหารหลักสูตร
4. การจัดการเรียนการสอน และการนิเทศการสอน
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่มุ่งจะศึกษาถึงการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน
ศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน หัวหน้าสาขาวิชา 3 คน หัวหน้าหมวดวิชา 2 คน และครูผู้สอน 64 คน รวมทั้งสิ้น 70 คน ที่ทำการสอนในโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2552

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Check List)
ตอนที่ 2 การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ ทั้ง 4 ด้านคือ การบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การนิเทศการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผล เป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้

ปฏิบัติในระดับมาก = 3
ปฏิบัติในระดับปานกลาง = 2
ปฏิบัติในระดับน้อย = 1
ตอนที่ 3 เป็นคำถามแบบปลายเปิดเพื่อแสดงความคิดเห็น ปัญหา และข้อเสนอแนะในการ บริหารงานวิชาการของโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ทั้ง 4 ด้าน

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
1. ศึกษาเอกสาร ตำรา และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2 . สร้างเครื่องมือ
3. นำเครื่องมือไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้อง
4. นำเครื่องมือมาปรับปรุง แก้ไข ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
5. นำแบบสอบถามไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. จัดทำหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2. นำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลกับประชากร
3. นำแบบสอบถามที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
1. นำข้อมูลการศึกษามาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
2. นำเสนอข้อมูลโดยใช้แบบตารางประกอบคำบรรยายเป็นความเรียง
3. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
4. แปลความหมายค่าเฉลี่ยเป็นรายข้อ ปรับปรุงจากเกณฑ์ของบุญส่ง นิลแก้ว (2541 , หน้า 146) ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.00 หมายถึง มีการปฏิบัติในระดับ มาก
ค่าเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง มีการปฏิบัติในระดับ ปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.00 หมายถึง มีการปฏิบัติในระดับ น้อย


สถานที่ทำการวิจัย
โรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่ อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่


ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย

มกราคม - เมษายน 2553


บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: องค์การค้า
ของคุรุสภา.
กาญจนา เกียรติประวัติ . (2524) . วิธีสอนนทั่วไปและทักษะการสอน . กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
จิตราภรณ์ บุญยงค์. (2542) . การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด กรมสามัญศึกษา
จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เจริญ ไวรวัจนกุล . (2523) . บริหารการศึกษา(ฉบับปรับปรุง) . กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
จรรยา ประพิณพงศา . (2550) . การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวชิรวิทย์ จังหวัดเชียงใหม่ . การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญส่ง นิลแก้ว. (2541). การวิจัยการศึกษา. ภาควิชาประเมินผลและการวิจัยการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
วีนา หาญใจ. (2540) . แนวทางการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนดาราวิทยาลัย. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิจิตร ศรีสอ้าน . (2543) . หลักและระบบบริหารการศึกษา . กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุทัย บุญประเสริฐ . (2532) การวางแผนการศึกษา . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำภา บุญช่วย. (2537). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์.

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

การเขียนโครงร่างงานวิจัย

การวิจัย คือ กระบวนการค้นหาความรู้ ข้อเท็จจริง อย่างมีระเบียบ มีกฎเกณฑ์ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และแปลความข้อมูล เพื่อแสวงหาคำตอบ สำหรับคำถามหรือประเด็นการศึกษาที่ตั้งไว้ ด้วยกระบวนการ อันเป็นที่ยอมรับ ในแต่ละสาขาวิชา โดยทั่วไปก่อนที่นักวิจัยจะทำการวิจัย จะต้องมีการวางแผนงานเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการวิจัยไว้ล่วงหน้า การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research proposal) นอกจากจะทำให้ผู้วิจัยทราบขั้นตอนและรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของการทำวิจัยแล้ว ยังใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาขออนุมัติทำวิจัย หรือขอทุนสำหรับทำวิจัยอีกด้วย เพื่อให้ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่า การวิจัยที่จะทำนั้นมีระเบียบวิธีการวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ในการทำวิจัยให้สำเร็จ และประโยชน์ สมควรได้รับการอนุมัติให้ทำการวิจัยได้
สิ่งสำคัญที่สุดในการเขียนโครงร่างการวิจัยที่ดี ก็คือความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้ที่จะการวิจัยว่าจะทำวิจัยเรื่องอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร จะใช้ระเบียบวิธีการศึกษาอะไรและอย่างไร และงานวิจัยนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งหากผู้ที่ทำวิจัยไม่มีความชัดเจนในเรื่องต่างๆเหล่านี้แล้ว ก็ยากที่จะเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่ดีได้

องค์ประกอบของโครงร่างการวิจัย
โครงร่างการวิจัย ควรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. ชื่อเรื่อง
2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4. คำถามของการวิจัย
5. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6. สมมติฐาน* และกรอบแนวความคิดในการวิจัย*
7. ขอบเขตของการวิจัย
8. การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย*
9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
10. ระเบียบวิธีวิจัย
11. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
12. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย
13. บรรณานุกรม
14. ภาคผนวก*
15. ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย
* ไม่จำเป็นต้องมีทุกโครงการ

1. ชื่อเรื่อง (the title)
ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร กรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น นอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
1.1 ความสนใจของผู้วิจัย
ควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
1.2 ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้
1.3 เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้
เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น
ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการ
บริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
1.4 ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว
ซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและ
ปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือระเบียบวิธีของการวิจัย

2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (background and rationale)
อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร

3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (objectives)
เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
3.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
3.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น

4. คำถามของการวิจัย (research question )
เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้

5. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (review of related literatures)
อาจเรียกว่า การทบทวนวรรณกรรม ส่วนนี้เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา นอกจากนี้ผู้วิจัยควรจะต้องมีการสรุปไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ทั้งส่วนที่สอดคล้องกัน ขัดแย้งกัน และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น เวลา สถานที่ วิธีการศึกษาฯลฯ การเขียนส่วนนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการตั้งสมมติฐานด้วย

6. สมมติฐาน (Hypothesis) และกรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework)
การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) นอกจากนี้ ผู้วิจัยควรนำเอาสมมติฐานต่างๆ ที่เขียนไว้มารวมกันให้เป็นระบบและมีความเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นกรอบแนวความคิดของการศึกษาวิจัยทั้งเรื่อง

7. ขอบเขตของการวิจัย
เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา

8. การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (operational definition)
ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (terms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิต, ตัวแปรที่เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ , ความพึงพอใจ, ความปวด เป็นต้น

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย(expected benefits and application)
อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น

10. ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology)
เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนจำทำอย่างไร โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ คือ
10.1 วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
10.2 แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เช่น จะเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากทะเบียนราษฎร์ สมุดสถิติรายปี สำมะโนประชากรและเคหะ ฯลฯ หรือจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิ จากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก ฯลฯ เป็นต้น
10.3 ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา และกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่จะศึกษาให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา เขตที่อยู่อาศัย บางครั้งประชากรที่ต้องการศึกษาอาจไม่ใช่ปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่น อาจเป็นครัวเรือน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ฯลฯ ก็ได้
10.4 วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด ขนาดตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด จะเก็บข้อมูลจากที่ไหน และจะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร
10.5 วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์แบบมีแบบสอบถาม การสังเกต หรือการสนทนากลุ่ม เป็นต้น
10.6 การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทำอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้

11. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ผู้วิจัยต้องระบุถึงระยะเวลาที่จะใช้ในการดำเนินงานวิจัยทั้งหมดว่าจะใช้เวลานานเท่าใด และต้องระบุระยะเวลาที่ใช้สำหรับแต่ละขั้นตอนของการวิจัย

12. งบประมาณ (budget)
การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี

13. เอกสารอ้างอิง (references) หรือ บรรณานุกรม (bibliography)

ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style

14. ภาคผนวก (appendix)
สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่


15. ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย (biography)
ประวัติของผู้วิจัย เป็นข้อมูลที่ผู้ให้ทุนวิจัยมักจะใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนวิจัย ซึ่งถ้ามีผู้วิจัยหลายคนก็ต้องมีประวัติของผู้วิจัยที่อยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ ทุกคนซึ่งต้องระบุว่า ใครเป็นหัวหน้าโครงการ ใครเป็นผู้ร่วมโครงการในตำแหน่งใด และใครเป็นที่ปรึกษาโครงการ
ประวัติผู้ดำเนินการวิจัย ควรประกอบด้วยประวัติส่วนตัว (เช่น อายุ เพศ การศึกษา) ประวัติการทำงาน และผลงานทางวิชาการต่างๆ
-------------------------------------------------

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว


ชื่อ ประภาพันธุ์ แก้วโชติ รหัสนักศึกษา 525315354
วันเดือน ปี เกิด วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2506 ปัจจุบันอายุ 47 ปี
ที่อยู่ปัจจุบัน 126/31 หมู่ 2 ต. ป่าแดด อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50100

ประวัติครอบครัว
คู่สมรส นายเจษฏา แก้วโชติ
อาชีพ รับราชการ
มีบุตรจำนวน 2 คน 1. นายจักรพันธ์ แก้วโชติ อายุ 27 ปี
2. นางสาวหทัยนันทน์ แก้วโชติ อายุ 25 ปี

ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดเชียงยืน
มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสันกำแพง
มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป (การเงินการบัญชี)
ขณะนี้กำลังศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
กรุงเทพธนบุรี
ประวัติการทำงาน
ปี 2534 – 2549 ครุผู้สอนสาขาวิชาการบัญชี
ปี 2538 – 2540 ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายกิจกรรม ผู้ตรวจสอบบัญชีสหการร้านค้า
ปี 2539 – 2540 รองหัวหน้าหมวดบัญชี
ปี 2540 – 2541 ประธานชมรมบัญชี
ปี 2540 – 2543 หัวหน้าหมวดวิชาบัญชี
ปี 2543 – 2545 หัวหน้าฝ่ายหลักสูตร
ปี 2546 – 2548 หัวหน้าฝ่ายวัดผล ผู้ตรวจสอบบัญชีสหการร้านค้า
ปี 2549 หัวหน้างานแผนงาน ผู้ตรวจสอบบัญชีสหการร้านค้า
ปี2549 - 2550 ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
ปี2551 - 2552 รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทั่วไป และ ผู้ช่วยผู้จัดการ
ปี 2553 ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีธนาพณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่

ผลงานแห่งความภูมิใจ

รางวัลเรียนดี จากโรงเรียนเทศบาลวัดเชียงยืน
โล่ประกาศเกียรติคุณ ในฐานะครูที่ได้อุทิศตน เสียสละ ปฏิบัติหน้าที่ครู จากโรงเรียนศรีธนา พณิชยการเทคโนโลยี เชียงใหม่
รางวัลครูดีเด่น จากสมาคมโรงเรียนเอกชน จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ 2550
ผลงานด้านวิชาการ

1. บทเรียนสำเร็จรูป วิชาการบัญชีห้างหุ้นส่วน เรื่องการแบ่งกำไรขาดทุน
2. บทเรียนสำเร็จรูป วิชาการบัญชีเบื้องต้น 1 เรื่องรายการปรับปรุง
3. ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน วิชาการบัญชีเบื้องต้น 1 เรื่อง สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้า ของ
4. เอกสารประกอบการเรียนวิชาการบัญชี 1 เรื่องรายการปรับปรุง

ผลงานการวิจัยในชั้นเรียน

1. การพัฒนาความรู้และทักษะการเรียนเรื่อง สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบศูนย์การเรียน
2. การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องการแบ่งกำไรขาดทุน โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
3. การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องรายการปรับปรุง โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
เว็บบล๊อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ ภาคเรียนที่1/2552 เสนอ อาจารย์ดร. พิกุล เลียวสิริพงศ์